เสียงสระในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

เสียงสระ

เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ

สระเดี่ยว

สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9 คู่

การออกเสียงสระเดี่ยว

การออกเสียงสระเดี่ยวแบ่งได้ตามตำแหน่งของลิ้นในการออกเสียง และรูปของริมฝีปาก

  1. การออกเสียงสระหน้า ลิ้นอยู่ในตำแหน่งหน้า ริมฝีปากรี สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอิ สระอี สระเอะ สระเอ สระแอะ และ สระแอ
  2. การออกเสียงสระกลาง ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลังค่อยไปทางกลาง ริมฝีปากรี สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอึ สระอือ สระเออะ สระเออ สระอะ และ สระอา
  3. การออกเสียงสระหลัง ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลัง ริมฝีปากห่อ สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอุ สระอู สระโอะ สระโอ สระเอาะ และ สระออ

สระประสมหรือสระเลื่อน

คือสระที่ประสมระหว่างหนึ่งกับอีกสระหนึ่งเพื่อให้เป็นเสียงใหม่ มีทั้งหมด 3 เสียง ได้แก่

เอีย  เกิดจาก สระอี + สระอา

เอือ เกิดจาก สระอือ + สระอา

อัว เกิดจาก สระอู + สระอา

ทริคการจำ

 

สระประสม เอีย เอือ อัว ทั้งหมดเป็นสระเสียงยาว ส่วนถ้าเป็นสระเสียงสั้นอย่าง

สระเอียะ  เกิดจาก สระอิ+สระอะ

สระเอือะ เกิดจาก สระอึ+สระอะ

สระอัวะ เกิดจาก สระอุ + สระอะ

คำที่มีสระเหล่านี้ในภาษาไทยมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นคำที่ไม่มีความหมาย ใช้สำหรับการเลียนเสียงบางอย่างเท่านั้น ถ้าเปลี่ยนให้เป็นเสียงยาวความหมายก็ไม่ต่างกัน ทำให้สระประสมเสียงสั้นถูกนับรวมให้เป็นพวกเดียวกับสระประสมเสียงยาวนั่นเองค่ะ

 

ข้อสังเกต

  • การดูสระต้องดูจากเสียง ไม่ดูจากรูป
  • อำ ใอ ไอ นับเป็นสระอะที่มีพยัญชนะร่วมด้วย

 

การแบ่งเสียงสระในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

 

เนื่องจากปัจจุบันมีการปรับปรุงตำราและใช้หลักเกณฑ์ใหม่ในการแบ่ง เพื่อไม่ให้สับสน เรามาดูข้อเปรียบเทียบระหว่างการแบ่งเสียงสระแบบเก่ากับแบบใหม่กันดีกว่าค่ะ

1. การแบ่งเสียงสระแบบเก่า จะแบ่งออกเป็น 32 เสียง มีสระเดี่ยว 24 เสียงและสระเกิน 8 แต่ในปัจจุบันเราตัดสระเกินออกแล้วแบ่งเป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง รวมกันเป็น 21 เสียง

2. แบบเดิมจะนับสระเสียงสั้นกับเสียงยาวว่ามี 24 แบ่งเป็น 12 คู่ แต่แบบใหม่จะนับเป็น 18 เสียง 9 คู่ โดยแยกสระเอีย สระเอือ สระอัวออกมาให้เป็นสระประสมแต่ไม่แยกเสียงสระสั้นเป็นคู่เหมือนสระเดี่ยว ทำให้สระประสมมี 3 เสียงคือ สระเอีย สระเอือ และสระอัว

3. การแบ่งเสียงแบบเดิมจะนับสระเกินเข้าไปด้วย แต่ในปัจจุบันสระเกินถูกนับเป็นพยางค์ที่มาจากการรวมกันของสระกับตัวสะกด แต่ยังมียัง 8 เสียงเหมือนเดิมคือ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

 

แม้จำนวนสระจะดูเหมือนเยอะจนอาจทำให้น้อง ๆ หลายคนสับสน แต่ถ้าลองศึกษาดูแล้วจะรู้ว่ามีวิธีจำที่ไม่ยากเลยค่ะ แต่ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังไม่เข้าใจเรื่องเสียงสระมากพอ อยากจะเห็นตัวอย่างมากกว่านี้เผื่อว่าไปเจอในข้อสอบ ก็ตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปจะมีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมและอธิบายไว้อย่างละเอียดเพื่อให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจโจทย์เวลาลงสนามจริงได้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคในภาษาไทย

ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของประโยค   ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน

Comparison of Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 5 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง Comparison of Adjectives หรือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลย ความหมาย Comparison of Adjectives คือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ที่ใช้ในการเปรียบเทียบคน สัตว์ สิ่งของ หรือ อื่นๆ

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go! การแบ่งประเภท     ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  

wh- questions

Wh- Questions with do, does, did

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การถามคำถามโดยใช้ Wh- Questions ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! รู้จักกับ V. to be   V. to be แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1