Past Passive คืออะไร

M3 Past Passive

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด

 

Past Passive คืออะไร

 

M3 Past Passive (2)

Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจากโครงสร้างของ Passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ เน้นกรรม) เมื่อนำมารวมกันแล้วPast Passive ก็คือ การใช้ Passive Voice ในรูปอดีต หรือ Past นั่นเอง 

 

หลักการสร้างประโยค Passive Voice

 

M3 Past Passive (3)

ให้ท่องว่า: เปลี่ยนกรรม ผัน V.to be ผัน V.3 By ผู้กระทำ

  1. เปลี่ยนกรรม ของประโยค Active ไปเป็นประธานของประโยค Passive
  2. ผัน to be ตามประธาน เช่น ประธานเป็นเอกพจน์ v. to be จะใช้ is (Present simple tense), was (Past simple tense)
    ส่วนประธานพหูพจน์ I, You, We, They , Girls เหล่านี้กริยา ต้องใช้ are(Present simple tense), were (Past simple tense)
  3. เปลี่ยน คำกริยาแท้ ให้เป็น Past Participle (V.3) อันนี้ต้องไปท่องกริยา3 ช่อง เพิ่มเติม
  4. นำประธานของ Active ไปเป็นกรรมของ Passive โดยวางไว้หลัง by เพื่อเน้นผู้กระทำ แต่เราสามารถละไว้ได้

ตัวอย่าง

Active: Emily made a pancake.
แปล เอมมีลี่ทำแพนเค้ก

Passive: A pancake was made by Emily.
แปล เค้กถูกทำโดยเอมมิลี่

เพิ่มเติม:

ถ้าในประโยคมีกรรมสองตัวคือ กรรมตรง (Direct Object) เป็นสิ่งของ และ กรรมรอง (Indirect Object) เป็นคน เมื่อเปลี่ยนเป็นประโยค Passive มักนำกรรมรอง (คน) มาเป็นประธาน แต่ถ้าจะนำกรรมตรง (สิ่งของ) มาเป็นประธานจะต้องใส่ to ที่หน้ากรรมรอง (คน)

***ท่องว่า “กรรมตรงของ ต้อง (กรรม)รองคน”

 

  • ประโยคบอกเล่า:

Active: Joel was creating a YouTube channel.
แปล โจเอลได้สร้างช่อง YouTube

Passive: A YouTube channel was being created (by Joel).
แปล ช่อง YouTube ได้ถูกสร้างโดยโจเอล

***ในส่วนของ by Joel นี้หากว่าไม่เน้นประธานนักเรียนไม่ต้องใส่ก็ได้นะคะ


ข้อสังเกต:

นักเรียนจะเห็นว่าความหมายของทั้งสองประโยคด้านบนจะคล้ายๆกันแต่แตกต่างกันเพียงแค่ประโยค Passive จะเน้นไปที่สิ่งที่ถูกกระทำมากกว่า

 

 

  • Passive voice ที่เคยเรียนมา ก็คือประโยคที่เน้นกรรม “ประธานถูกกระทำ”  มีโครงสร้างง่ายๆ ดังนี้

Subject+ V. to be + V.3 (Past participle)

เช่น

  • Past Simple Tense (Passive):

    A picture was taken 1000 years ago.
    แปล ภาพถ่ายถูกถ่ายเมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว

 

  • Past Progressive Tense (Passive):

    The rich man was being shot to death.
    ชายเศรษฐีถูกยิงตาย

 

Past Passive VS Past Simple Tense

***การทำให้เป็นรูปถูกกระทำนั้นจะต้องเรียบเรียงประโยคใหม่ จาก Active เป็น Passive เพราะฉะนั้นการเรียนเรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจการใช้  Passive voice กับความหมายในรูปอดีตกันมากขึ้นจ้า 

M3 Past Passive (4)

การใช้  Past Simple Tense ร่วมกับ Past Passive นั้นเป็นโครงสร้างที่เจอบ่อยมากๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และในข้อสอบ สำหรับการใช้นั้น ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

 

  • โครงสร้าง Past Passive: Subject + was, were, + V.3 (Past Participle)

ตัวอย่างประโยค:

They were scolded by the master.
แปล พวกเขาถูกอาจารย์ดุ

 

ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice

Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ 

Active Voice คือประโยคที่เน้นประธาน เน้นว่าใครทำอะไร

จุดที่มักผิดบ่อยๆ ใน Past Passive

M3 Past Passive (5)

จุดที่มักผิดบ่อยๆ วิธีแก้ให้ถูกต้อง
***เติม V.3 (Past Participle)เข้าไปด้าหลัง
V. to be

ความหมาย

A pizza cooked. A pizza was cooked. พิซซ่าถูกปรุงให้สุก
The new online game was release. The new online game was  released. เกมออนไลน์ใหม่ถูกเปิดตัว
Jennifer had be leave at the haunted house. Jennifer had been left at the haunted house. เจนนิเฟอร์ถูกทิ้งไว้ที่บ้านผีสิง
A dog was be hit to death. A dog was being hit to death. สุนัขถูกตีจนตาย

 

ตัวอย่างประโยคสนทนา

Tiffany: Have you heard from Jane? 
ทิฟฟานี่: คุณได้ยินข่าวคราวเจนบ้างไหม

Jessica:  I have heard that Jane was moved to work in another town.
เจสสิก้า: ฉันได้ยินมาว่าเจนถูกย้ายไปทำงานที่เมืองอื่น

Tiffany:How come? 
ทิฟฟานี่: ได้ยังไงกัน

Jessica: I don’t know for sure.
เจสสิก้า: ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน

สรุปโครงสร้าง Past Passive

M3 Past Passive (6)

 

ในภาษาอังกฤษนั้น หากเราสามารถจำโครงสร้างของ Passive voice ได้ จะทำให้เราสามารถใช้ไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถแต่งประโยคได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบ Error ได้อย่างสบาย

 

Tense and Voice Structure Examples
  Past simple   Active   S + V.2 Tiffany washes the dishes.

ทิฟฟานี่ล้างจาน

  Passive   S + was/were + V.3 The dishes were washed ( by Tiffany).
จานถูกล้าง (โดยทิฟฟานี่)
  Past continuous   Active   S + was/were + V.ing My father was cooking a pizza.
พ่อกำลังทำพิซซ่า
  Passive   S + was/were + being + V.3 A pizza was being cooked by my father.

พิซซ่าได้กำลังถูกทำโดยพ่อ

  Past perfect   Active   S + had + V.3 Dominic had found the treasure.

โดมินิคได้พบสมบัติแล้ว

  Passive   S + had + been + V.3 The treasure had been found (by Dominic).

พบสมบัติแล้ว(โดยโดมินิค)

  Past perfect continuous   Active   S + had + been + V.ing We had been making a call for hours.

เราโทรไปหลายชั่วโมงแล้ว
  Passive   S + had + been + being + V.3 We had been being made a call for hours.

เราได้รับโทรศัพท์เป็นเวลาหลายชั่วโมง

เพิ่มเติม: เราสามารถใช้ Passive voice ในการเขียนแบบวิชาการทางการหรืองานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบได้ในบทความ หนังสือพิมพ์ วิจัย และผลงานทางด้านวิชาการเป็นส่วนใหญ่น๊า

 

กริยาช่วยกับ Past Passive

 

M3 Past Passive (7)

 

ตัวอย่างการใช้ Passive voice กับ โครงสร้าง “Modal verbs(in the past) + be +V.3” กลุ่มของ Modal verbs ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would,  may, might can, could, must, ought to, used to แต่โครงสร้าง “Past Passive” จะเน้นกริยาช่วยกลุ่มที่เป็นอดีตนั่นเอง 

***ดังตัวอย่างการเทียบประโยคการใช้ Passive voice ในปัจจุบันกับอดีต 

 Present Passive

Past Passive

 

โครงสร้าง: Modal + be + Past participle  โครงสร้าง:  Modal + have been + Past participle
It can be eaten.
มันสามารถกินได้
It could have been eaten.
มันอาจจะกินได้
A house might be sold.
อาจขายบ้านได้
A house might have been sold.
บ้านอาจจะถูกขายไปแล้ว

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเข้าใจ “การใช้ Passive Voice (ในอดีต)”หรือยังเอ่ย  นักเรียนยังสามารถย้อนดูบทเรียน เรื่อง Passive Voice กับการสรุปโครงสร้างแบบง่ายๆ ได้ที่วีดีโอด้านล่างนะคะ

Take care guys!

ดูแลตัวเองด้วยน๊า

 

คลิกปุ่มเพลย์เพื่อทบทวนโครงสร้าง Passive Voice ที่ใช้ในโครงสร้างประโยคง่ายๆ

คลิกปุ่มเพลย์เพื่อดูวีดีโอเรื่อง การใช้ Passive Voice ในรูปอดีตได้ที่วีดีโอด้านล่าง

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม3 มารู้จักกับ Signal Words

การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc.

มารู้จักกับ Signal Words หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing)

สมบัติการบวกจำนวนจริง

สมบัติการบวกจำนวนจริง สมบัติการบวกจำนวนจริง เป็นสมบัติที่น้องๆต้องรู้ เพราะเป็นรากฐานของวิชาคณิตศาสตร์และน้องๆจะต้องใช้สมบัติพวกนี้ในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น สมบัติการบวกของจำนวนจริง มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้   1.) สมบัติปิดการบวก  สมบัติปิดการบวก คือ การที่เรานำจำนวนจริง 2 ตัวมาบวกกัน เราก็ยังได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเหมือนเดิม เช่น 1 + 2 = 3 จะเห็นว่า

ประโยคในภาษาไทย

ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของประโยค   ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1