เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

วิชชุมมาลาฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำประพันธ์ประเภท ฉันท์

 

ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท จนกระทั่งอีกสองพันปีต่อมาซึ่งอยู่ในสมัยมหากาพย์ฉันที่เรียกว่า โศลก ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาใหม่ โดยมีบาทที่ 1 เหมือนกับบาทที่ 3 และบาทที่ 2 เหมือนกับบาทที่ 4

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

ฉันท์บาลีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันมาตราพฤติ โดยฉันท์วรรณพฤติกับฉันท์มาตราพฤติมีข้อแตกต่างกันดังนี้

  1. ฉันท์วรรณพฤติ เป็นฉันท์ที่กำหนด เสียงหนักเบาที่เรียกว่าครุ ลหุ
  2. ฉันท์มาตราพฤติ กำหนดด้วยมาตรา คือวางจังหวะสั้นยาวของมาตราเสียงเป็นสำคัญ นับคำครุเป็น 2 มาตรา นับคำลหุเป็น 1 มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร ซึ่งแตกต่างจากฉันท์วรรณพฤติ

ส่วนฉันท์ที่คนไทยนิยมนำมาแต่งเป็นพื้นฐานคือ ฉันท์วรรณพฤติ

 

หลักการแต่งฉันท์

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

1. จำคำลหุ (คำที่ออกเสียงเบา เร็ว สั้น) ให้แม่นยำ มีลักษณะดังนี้

  • คำที่มีสระอะ อิ อุ ฤ ฦ เอะ แอะ โอะ เอาะ อัวะ อำ(เฉพาะที่เป็นคำยืมเขมร เช่น ตำบล(ตำ เป็น ลหุ บล เป็น ครุ))
  • คำที่มีไม้เอก เช่น บ่ ไป่ ไม่ จุ่ง
  • คำควบกล้ำ เช่น พระ ประ
  • คำลหุที่ติดมากับครุ เช่น เกษม กะ เป็นลหุ ส่วน เษม เป็น ครุ

2. จำคำครุ (คำที่ออกเสียงหนัก ยาว) ให้แม่นยำ หากจำคำลหุได้ ที่เหลือก็ถือเป็นคำครุทั้งหมด แต่จะมีบางคำที่แม้จะเป็นสระที่ออกเสียงคล้ายเสียงสั้น แต่จะจัดอยู่ในคำครุ คือ ไอ ใอ สระ 2 ตัวนี้ในฉันท์ภาษาไทยอนุโลมเป็นคำครุ

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

3. แต่งให้ตรงตามลักษณะบังคับของฉันท์

ฉันท์แต่ประเภทมีลักษณะการแต่งที่ไม่เหมือนกัน มีจำนวนบาทไม่เท่ากัน เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ที่บาทหนึ่งมี 8 คำ จึงนับเป็นฉันท์ 8

 

วิชชุมมาลาฉันท์ 8

 

วิชชุมมาลาฉันท์ เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย เรียกว่า วิชชุมมาลาคาถา

วิชชุมมาลาฉันท์ (วิด-ชุม-มา-ลา-ฉัน) แปลว่า ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุลสายฟ้าแลบที่มีรัศมียาว

 

 

ตัวอย่าง

 

ลักษณะบังคับ

1.คณะและพยางค์

  • บทหนึ่งมี 4 บาท
  • บาทหนึ่งมี 4 วรรค
  • วรรคหนึ่งมี 4 คำ
  • บาทหนึ่งมี 8 คำ จึงเรียกว่าฉันท์ 8
  • รวมบทหนึ่งมี 8 วรรค 32 คำ

2. ครุ-ลหุ

  • ประกอบด้วยคณะฉันท์ มะ มะ ครุลอย 2
  • เป็นคำครุทั้งหมด ไม่มีลหุอยู่เลย

3. สัมผัส ส่งสัมผัสแบบกลอนสุภาพ

สัมผัสใน

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 6 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 7

สัมผัสระหว่างบท

คำสุดท้ายของบท ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต่อไป

 

นอกจากจะใช้แต่งเรื่องราวที่ยืดยาว มีบทพรรณนา บทสนทนาและคติธรรมแล้ว ฉันท์ยังใช้แต่งบทประพันธ์ขนาดสั้นได้ รวมไปถึงแต่งเป็นบทสดุดี บทบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา และบทอวยพรเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นคำที่ประพันธ์ที่สามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย ถ้าหากเราแต่งให้ตรงฉันท์ลักษณ์และเลือกสรรคำที่งดงาม ก็จะทำให้บทประพันธ์มีความไพเราะได้ไม่ยากเลยค่ะ สุดท้ายนี้เพื่อทบทวนความเข้าใจ น้อง ๆ อย่าลืมรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างฝึกแต่งและทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile where + preposition P6

การใช้ประโยค Where’s the + (Building) + ? It’s + (Preposition Of Place)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ประโยค การถามทิศทาง แต่เอ้ะ Where is the building? แปลว่า ตึกอยู่ที่ไหน ประโยคนี้เป็นการถามทางแบบห้วนๆ ที่ใช้กับคนที่เราคุ้นชินหรือคนที่เรารู้จัก แต่หากนักเรียนต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องถามกับคนแปลกหน้าโดยเฉพาะฝรั่ง คงต้องมาฝึกถามให้สุภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการเกริ่นขึ้นก่อนที่เราจะถามนั่นเองค่ะ ซึ่งนักเรียนที่รักทุกคนได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบการถามทิศทาง   โครงสร้างประโยคถามแบบตรงๆ (Direct Question) “

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ     การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

“อัตราส่วน คือ ปริมาณ อย่างหนึ่งที่แสดงถึง จำนวน หรือ ขนาด ตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีก ปริมาณ หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน ที่อาจมีได้ตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป”

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1