การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม

 

2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ อาจจะพูดย่อหรือลดพยางค์ลงไป และในบางคำที่เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงยาก ผู้พูดก็จะหลีกเลี่ยงไม่ออกเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

3. การยืมคำจากภาษาต่างประเทศ การยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่มาใช้ร่วมกับภาษาไทยทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเสียง คำ และโครงสร้างประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

เป็นการเปลี่ยนระบบโครงสร้างของภาษาไทยให้ต่างไปจากเดิม มีลักษณะดังนี้

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

1. การใช้ประโยคกรรม

โดยปกติแล้วประโยคภาษาไทยจะเรียงแบบ ประธาน + กริยา + กรรม แต่ในปัจจุบันมีประโยคกรรมมากขึ้น คือย้ายกรรมมาไว้ต้นประโยคเหมือนเป็นประธาน

ตัวอย่าง สุนัขถูกตี สุนัขเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค หรือ น้องสาวถูกรถชน น้องสาวเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค

จากตัวอย่าง น้อง ๆ จะสังเกตได้ว่าประโยคกรรมเหล่านี้มักมีคำว่า ถูก อยู่หน้ากริยาทำให้โครงสร้างของประโยคที่คนนิยมใช้ส่วนมากจะเป็น กรรม + ถูก + กริยา นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งซึ่งก็คือคำว่า ได้รับ ทั้งคำนี้จะถูกใช้ในบริบทที่ต่างกันออกไป

 

 

2. การใช้ประโยคสรรพนามว่า มัน

เป็นการเรียงประโยคที่ได้รับอิทธิพลมาจากไวยากรณ์อังกฤษในการใช้คำว่า it หรือ มัน ขึ้นต้นประโยค โดยที่สรรพนาม มัน นั้นไม่ได้แทนสัตว์หรือสิ่งของใด ๆ

ตัวอย่าง มันถึงเวลาแล้ว

มันจะผ่านไปด้วยดี

มันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอบรมลูก

 

3. ประโยคมีอาการนามมากขึ้น

อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมักจะมีคำ “ความ” หรือ “การ” นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ประโยคในปัจจุบันมีการนำอาการนามมาเพิ่มในประโยคเยอะขึ้นทำให้ประโยคยาวกว่าเดิม

ตัวอย่าง การแยกขยะให้ถูกต้องจะช่วยจัดการปัญหาเรื่องขยะได้ดี

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นผลของความพยายาม

 

4. ประโยคที่นำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยค

ส่วนขยายในประโยคภาษาไทยมักจะอยู่หลังคำหรือวลีที่ถูกขยาย แต่การเปลี่ยนแปลงทางประโยคทำให้ปัจจุบันคนนิยมนำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยคกันเป็นจำนวนมาก

ตัวอย่าง สีแดงของเสื้อเธอมันแสบตาฉันเหลือเกิน

 

วัวัฒนาการของภาษามีการเปลี่ยนไปแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตายทำให้โครงสร้างประโยคถูกเปลี่ยนไปมีหลายรูปแบบมากขึ้น อาจจะสะดวกในการสื่อสาร แต่น้อง ๆ ก็ต้องหมั่นทบทวนและแยกให้ออกด้วยนะคะว่าประโยคไหนเป็นแบบไหน เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจผิดและสับสนค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนของประโยคเพิ่มเติมได้ ก่อนที่บทเรียนในครั้งหน้าเราจะไปเรียนรู้อีกหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอย่างการเปลี่ยนแปลงคำกันค่ะ ไปดูกันค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ลบไม่ได้ช่วยให้ลืม เช่นเดียวกับการลบเศษส่วนและจำนวนคละ!

บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงการบวกเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการลบเศษส่วนและจำนวนคละ ทั้งสองเรื่องนี้มีหลักการคล้ายกันต่างกันที่เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าโจทย์ต้องการทราบอะไร ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการลบเศษส่วนและจำนวนคละอย่างละเอียดและยกตัวอย่างให้น้อง ๆเข้าใจอย่างเห็นภาพและสามารถนำไปปรับใช้กับแบบฝึกหัดเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละได้

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

สับเซตและเพาเวอร์เซต

บทความนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสับเซต เพาเวอร์เซต ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สำคัญ หลังจากที่น้องๆอ่านบทความนี้จบแล้ว น้องๆจะสามารถบอกได้ว่า เซตใดเป็นสับเซตของเซตใดและสามารถบอกได้ว่าสมาชิกของเพาเวอร์เซตมีอะไรบ้าง

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยา

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยากันเถอะ   สวัสดีค่ะ มาพบกับแอดมินและ Nock Academy กับบทความเตรียมสอบเข้าม.1 กันอีกแล้วแต่วันนี้เรามาในบทความการสอบเข้าของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนหญิงล้วนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานกว่า 118 ปี อีกทั้งยังเคยเป็นสถานศึกษาของสมเด็จย่าและเคยได้รับเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันธ์กับราชวงศ์ของไทยและเป็นสถานที่ที่เคยต้อนรับราชวงศ์ชั้นสูงมาแล้วอีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรื่องของความเก่าแก่และยาวนานของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนสตรีวิทยานั้นเป็นที่รู้จัก แต่ในด้านของวิชาการก็มีความเข้มข้นและการแข่งขันที่สูงด้วยเช่นเดียวกัน โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มีอัตราการสอบเข้าศึกษาที่สูงมากในแต่ละปี

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1