เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การคิดอย่างมีเหตุผลและอุปสรรค เป็นบทเรียนในเรื่องของความคิดและภาษาที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในครั้งนี้ การคิดอย่างมีเหตุผลมีทักษะการคิดอย่างไรและแตกต่างจากการคิดแบบอื่นไหม นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะเรียนรู้ในส่วนของอุปสรรคทางความคิดอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะคะว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การคิดคืออะไร

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

การคิด คือ การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นหลักการคิดที่ใช้ข้อมูลและภาพรวมมาดำเนินการคิด หลีกเลี่ยงการตัดสินใจด้วยความรู้สึกเพียงอย่างเดียว

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

ภาษามีความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับการใช้ความคิด

 

บทบาทของภาษาในการพัฒนาการคิด

มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน

การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบันตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร

 

การใช้ภาษาอย่างมีเหตุผล

 

โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย ตัวเหตุผล หรือ ข้อสรุป ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลมีด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้

 

 

1.ใช้คำสันธาน ในกรณีที่เรียงเหตุผลไว้ก่อนการสรุปจะต้องมีคำสันธาน เพราะ เพราะฉะนั้น เพราะ..จึง เพราะว่า นำหน้าเหตุผล

ตัวอย่าง ฉันกินข้าว เพราะฉันหิว คำว่าเพราะเป็นคำสันธานที่นำหน้าเหตุผล

2.ใช้กลุ่มคำเรียงกัน ระบุว่าตรงไหนเป็นเหตุผลหรือข้อสรุปโดยการใช้กลุ่มคำบอกตรง ๆ ว่า ข้อสรุปคือ เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ เป็นต้น

ตัวอย่าง ที่เด็ก ๆ ทุกคนมารวมตัวอ่านหนังสือกันในวันนี้มีเหตุผลสำคัญคืออีกไม่นานจะถึงวันสอบปลายภาคแล้ว

3.ใช้เหตุผลหลายข้อประกอบกัน เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อสรุปโดยใช้เหตุผลหลาย ๆ อย่างมาประกอบกันเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

ตัวอย่าง ฉันไม่ชอบอยู่บ้านไม้ มันมักมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าดเวลาเดิน สร้างความรำคาญ ไหนจะพบปัญหาเรื่องปลวก แมลงกัดกินไม้ต่างๆอีก

 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสันธาน

ในบางกรณีถึงไม่ใช้คำสันธานก็ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเหตุผล เช่น ฉันจะลดน้ำหนักแล้ว ช่วงนี้ฉันอ้วนขึ้น  ตัวอย่างประโยคนี้จะเห็นได้ว่าด้านหน้าของเหตุผลไม่มีคำสันธานอยู่แต่เป็นประโยคที่ปกติแล้วผู้ฟังจะสามารถเข้าใจได้ว่าผู้พูดต้องการจะลดน้ำหนักเพราะรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้น ซึ่งการเลือกละหรือไม่ละคำสันธานนั้นขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการกระทำและเหตุผลหรือการใช้เหตุผลหลาย ๆ อย่างมารวมกัน แต่จะไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ประโยคมีความคลุมเครือ

 

อุปสรรคของความคิด

 

 

1.อคติ มาจากภาษาบาลี อะ หมายถึง ผิด, ไม่, ไม่ถูกต้อง, ไม่ดีงาม, ไม่สมควร คติ หมายถึง วิถี, แนวทาง, สิ่งที่เป็นไป, การดำเนินไป, ความเป็นไป, การตอบสนอง, การแสดงออก เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์ไม่ใช้ความคิดมนุษย์ทุกคนย่อมมีความคิดต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันจนในบางครั้งก็อาจเอนเอียงให้ความคิดที่ตัวเองเชื่อมั่นโดยไม่สนข้อเท็จจริง

2.ความเร่งรัด การถูกจำกัดเวลา ประสิทธิภาพทางความคิดจะน้อยลงเพราะไม่สามารถใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่

3.ความบกพร่องของสุขภาพทางกายและจิต เมื่อสุขภาพกายและจิตไม่พร้อม ทำให้ไม่สามารถคิดอะไรได้เต็มที่

4.ความเหนื่อยล้าและความซ้ำซากจำเจ เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า สมองจะไม่สามารถคิดอะไรอย่างเป็นเหตุผลได้เพราะความอ่อนเพลีย อีกทั้งการทำอะไรซ้ำซากจำเจเป็นอย่างเป็นประจำจะทำให้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ถดถอยลง

5.สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เมื่อถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ อาจทำให้ไม่มีสมาธิมากพอที่จะจดจ่อและใช้ความคิด

6.การขาดความรู้ ความไม่เข้าใจในเรื่องที่คิด จะทำให้ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ วิธีแก้คือต้องหมั่นหาความรู้เพื่อให้ความคิดเป็นไปอย่างราบรื่น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะบทเรียนภาษาไทยในวันนี้ คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนเข้าใจถึงกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและได้รู้อุปสรรคทางความคิดไปแล้ว ถ้าพบว่าข้อไหนตรงกับตัวเองก็พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคระหว่างที่กำลังใช้ความคิดกันด้วยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปของครูอุ้มได้เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของการคิดอย่างมีเหตุผลและการคิดอย่างสมเหตุสมผลให้เข้าใจมากขึ้น รับรองว่าทั้งสนุกและยังได้ความรู้อีกด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

ความสัมพันธ์ที่ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ” ของเศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วนและทศนิยมมีความสัมพันธ์กันคือสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมหรือเขียนทศนิยมให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้โดยค่าของเศษส่วน และทศนิยมนั้นจะมีค่าเท่ากัน บทความนี้จะอธิบายหลักการความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมพร้อมวิธีคิดที่เห็นภาพ ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้ คือการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยมและการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้วยังมีเทคนิคการสังเกตง่ายๆที่จะสามารถทำให้เราทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1