รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

มงคลสูตร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

 

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง
มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี
ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล
38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

ประวัติความเป็นมา เรื่อง มงคสูตรคำฉันท์

 

ก่อนที่เราจะไปดูตัวบทของเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ สิ่งที่เราควรต้องรู้ก็คือเรื่อง ประวัติความเป็นมาเพื่อให้เราเข้าใจทั้งภูมิหลัง และความสำคัญของวรรณคดีเรื่องนี้ได้อย่างดี สำหรับผู้ที่แต่งเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ขึ้นมานั่นก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2466 ซึ่งเดิมทีพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงคิดหาหนทางที่จะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการทำความดีมีศีลธรรม ด้วยความเชื่อที่ว่าสิริมงคลจะเกิดกับตัวเราได้ก็ขึ้นอยู่กับผลจาก
การกระทำของตัวเราเองทั้งสิ้น โดยรัชกาลที่ 6 ทรงนำหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคาถาภาษาบาลีอย่างอุดมมงคล หรือมงคลสูตรมาแปลความแล้วนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองตามบังคับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทนั้นได้อย่างไพเราะ โดยที่ความหมายไม่ผิดเพี้ยนไปจากในภาษาบาลีเลย แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพทางภาษา และการแต่งคำประพันธ์ของรัชกาลที่ 6 ได้เป็นอย่างดี

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

เรื่องย่อที่มาของมงคลสูตรคำฉันท์

 

เดิมที ‘มงคลสูตร’ เป็นคำสอนที่ได้รับการจารึกไว้ในพระไตรปิฎกตามรูปแบบคาถาภาษาบาลี แต่ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงนำมาแปลความแล้วแต่งเป็นร้อยกรองจนเกิดเป็นมงคลสูตรคำฉันท์ หรือที่หลายคนรู้จักกันว่าเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการ โดยเรื่องราวในวรรณคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอานนท์ได้มาเทศนาเนื่องในโอกาสสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 พระอานนท์ได้เล่าถึงพระสัมมาสัมพุทธเมื่อครั้งที่มีเหล่าเทวดาลงมาขอให้พระองค์ช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องมงคล เพราะเหล่าเทวดาทั้งหลายกำลังทะเลาะกันเรื่องหลักมงคลที่แต่ละศาสนามีความเชื่อ และความเข้าใจแตกต่างกัน ทำให้เหล่าเทวดานั้นเกิดการขัดแย้งกันเอง และหาจุดคลี่คลายไม่ได้มานานกว่า 12 ปี จึงอยากให้พระพุทธเจ้าช่วยเทศนาเทวดาเหล่านี้ให้เข้าใจร่วมกัน พระพุทธเจ้าจึงได้ขึ้นไปเทศนามงคล 38 ประการให้เหล่าเทวดาได้ฟัง ซึ่งหลังจากเทศนาจบเหล่าเทวดา
ก็เกิดบรรลุธรรม และได้นำมงคลสูตรนี้ไปเผยแพร่
ในเวลาต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้นำเรื่องการเทศนาครั้งนี้
มาเล่าให้พระอานนท์ฟังเพื่อหวังให้พระอานนท์นำมงคลสูตรทั้ง 38 ประการนี้ไปเทศนา และเผยแพร่ต่อไป
ให้ผู้คนได้ยึดถือปฏิบัติอันจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญในชีวิตนั่นเอง

 

มงคงสูตรคำฉันท์

 

ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

 

ในส่วนของลักษณะคำประพันธ์ในวรรณคดีเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ อย่างที่ได้บอกไปว่าด้วยพระอัจฉริยะภาพของรัชกาลที่ 6 แล้วพระองค์ได้เลือกใช้คำประพันธ์ในการแต่งเรื่องนี้ถึง 2 ชนิด ได้แก่ กาพย์ฉบัง 16 และอินทร์วิเชียรฉันท์ 11 ซึ่งเป็นรูปแบบคำประพันธ์ที่มีทั้งการบังคับสัมผัสคำคล้องจอง และการกำหนดเสียงสั้น เสียงยาวเพื่อให้เกิดความไพเราะ อีกทั้งแต่ละบทจะมีลักษณะพิเศษ คือ จบด้วยข้อความที่กล่าวว่า “ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี” โดยเป็นข้อความที่แปลมาจากคาถาภาษาบาลี (เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ) ดังนั้น เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยวเราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบของคำประพันธ์ทั้ง 2 ชนิดนี้กัน

 

กาพย์ฉบัง16

 

กาพย์ฉบัง 16

ในส่วนของลักษณะคำประพันธ์ชนิดแรกคือ กาพย์ฉบัง 16 ลักษณะของกาพย์ชนิดนี้ 1 บท จะมีเพียงแค่
3 วรรค แต่ละวรรคจะมีการกำหนดจำนวนคำ ดังต่อไปนี้

  •  วรรคสดับ (วรรคแรก) มีจำนวน 6 คำ
  •  วรรครับ (วรรคสอง) มีจำนวน 4 คำ
  •  วรรคส่ง (วรรคสาม) มีจำนวน 6 คำ

การสัมผัส

  • สัมผัสระหว่างวรรค คำสุดท้ายของวรรคแรกต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
  • สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของวรรคสามต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบทต่อไป
    จากนั้นก็จะใช้สัมผัสเหมือนเดิมไปเรื่อย ๆ จนจบ ซึ่งลักษณะการอ่านกาพย์ฉบัง16 จะแบ่งคำแบบ
    2-2-2 

 

อินทรวิเชียรฉันท์11

 

อินทรวิเชียรฉันท์ 11

คำประพันธ์ในรูปแบบนี้จะมีลักษณะที่ยากขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากต้องใช้การกำหนดคำครุ คำลหุ หรือเสียงหนัก – เบา ในแต่ละวรรค โดยใน 1 บทจะประกอบไปด้วย 2 บาท และใน 1 บาทก็จะมี 2 วรรค ในแต่ละวรรคก็จะกำหนดให้มีจำนวนคำ ดังต่อไปนี้

  • วรรคหน้าจำนวน 5 คำ
  • วรรคหลังจำนวน 6 คำ

นอกจากในส่วนของการกำหนดจำนวนคำแล้วสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของการแต่งคำประพันธ์แบบ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ก็คือการกำหนดคำครุ คำลหุ หรือคำหนัก – เบา ซึ่งเราจำเป็นจะต้องจำตำแหน่งของ
คำครุ คำลหุให้ดี เพื่อการสัมผัสที่คล้องจอง และถูกต้องตามหลัก

คำครุ

คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้แต่ต้องมีตัวสะกดตามมาตราตัวสะกด ได้แก่ กก กด กบ กม กน กง เกย เกอว หรือเป็นคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในเสียงที่มีตัวสะกดเช่นกัน โดยจะแทนด้วยไม้หันอากาศ ( -ั )

คำลหุ

คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา หรือไม่มีตัวสะกด รวมไปถึงคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ โดยจะแทนด้วยสระอุ ( -ุ )

การสัมผัส

  • คำครุตัวสุดท้ายของวรรคหน้าไปสัมผัสกับคำครุตัวที่ 3 ของวรรคหลัง
  • คำครุตัวสุดท้ายของวรรคหลังไปสัมผัสกับคำครุตัวสุดท้ายในวรรคหน้าของบาทที่ 2
  • คำครุตัวสุดท้ายในวรรคหลังของบาทที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำครุตัวสุดท้ายในวรรค 2 ของบทถัดไป

** แนะนำให้น้อง ๆ ดูรูปภาพประกอบไปด้วยเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

 

บทส่งท้าย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างหลังจากที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และเรื่องย่อของวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไป ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นหรือเปล่า จริง ๆ ต้องบอกว่าเนื้อหาของวันนี้ยังมีอีก ซึ่งในส่วนต่อไปเราจะพาน้อง ๆ ไปดูตัวบทที่น่าสนใจจากเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์กัน เราจะได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดวรรณคดีเรื่องนี้ถึงได้รับการยกย่องว่าสามารถแต่งออกมาได้อย่างไพเราะมาก ๆ สำหรับเนื้อหาวันนี้
ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะทบทวน หรือศึกษาเพิ่มเติมสามารถดูคลิปการสอนของครูพี่อุ้มที่ด้างล่างนี้ได้เลยรับรองว่าทั้งสนุก และได้ความรู้ไปเต็มที่แน่นอน

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

สมบัติของการเท่ากัน

สมบัติของการเท่ากัน

          การหาคำตอบของสมการนั้น ต้องใช้สมบัติการเท่ากันมาช่วยในการหาคำตอบ จะรวดเร็วกว่าการแทนค่าตัวแปรในสมการซึ่งสมบัติการเท่ากันที่ใช้ในการแก้สมการได้แก่ สมบัติสมมาตร สมบัติถ่ายทอด สมบัติการบวก และสมบัติการคูณ เรามาทำความรู้จักสมบัติเหล่านี้กันค่ะ สมบัติสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a เมื่อ a และ

Profile Linking Verbs

มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น

สวัสดีค่ะนักเรียนม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น แต่ก่อนอื่นไปดูความหมายของ Linking Verbs กันก่อนนะคะ ไปลุยกันเลย มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs     Linking verbs คืออะไรกันนะ Linking แปลว่า การเชื่อม มาจากรากศัพท์ link ที่เป็นกริยาเติมด้วย

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้ การบวกจำนวนเต็ม การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้ |-12|=   12 |4|=   4

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1