หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  2. สมเด็จพระราชินี, สมเด็จพระบรมราชชนนี, สมเด็จพระยุพราช, สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
  3. สมเด็จเจ้าฟ้า
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  6. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  7. หม่อมเจ้า

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

นับตั้งแต่ขึ้นรัชกาลใหม่ รัชกาลที่ 10 ลำดับรวมถึงพระยศของพระบรมวงศานุวงศ์ก็ถูกเปลี่ยนและแต่งตั้งยศขึ้นใหม่ จะมีใครบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

หลักการใช้คำราชาศัพท์

 

การใช้คำนามราชาศัพท์

พระบรม/พระบรม หรือ บรมราช ใช้คำหน้าสิ่งของสำคัญ น่ายกย่อง ใช้ได้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น

ตัวอย่างคำ

พระบรมเดชานุภาพ

พระบรมราชโองการ

พระบรมมหาราชวัง

 

พระราช ใช้คำหน้าคำที่สำคัญรองลงมา

ตัวอย่างคำ

พระราชหัตถเลขา

พระราชดำริ

พระราชทรัพย์

 

พระ ใช้คำนามสามัญทั่วไป

ตัวอย่างคำ

พระหัตถ์

พระบาท

พระมาลา

พระกระยาหาร

 

 

การใช้ทรง

คำว่า ทรง เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำกริยาธรรมดาให้เป็นราชาศัพท์ มีหลักการใช้ง่าย ๆ ดังนี้

– คำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติมทรงนำหน้า เช่น ประทับ, ตรัส, ผนวช, สุบิน เป็นต้น

– ใช้ ทรง นำหน้าคำสามัญทั่วไป เพื่อทำให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงกีฬา, ทรงม้า, ทรงช้าง

– ใช้ ทรง นำหน้าคำหน้าคำนามราชาศัพท์ เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา, ทรงพระสุบิน

 

การใช้คำว่าเสด็จ

– นำหน้าคำกริยาบางคำ เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เป็นต้น

– นำหน้าคำนามราชาศัพท์เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เป็นต้น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลักการใช้คำราชาศัพท์กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ถึงจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างตามยศที่ลดหลั่นกันลงมา แต่ก็ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปติดตามคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ เพิ่มเติม อย่างการสอนอ่านชื่อพระบรมวงศานุวงศ์ไทยให้ถูกต้อง ไปชมกันเลยค่ะ

 

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

wh- question

Wh- Question ใน Past Simple และ Future Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Wh- Question ในประโยคที่เป็น Past Simple และ Future Tense จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

เกริ่นนำ เกริ่นใจ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า     ประวัติความเป็นมา ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1