เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 


 

เสียงพยัญชนะไทย

เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่ถูกเปล่งออกมาจากลำคอและถูกปิดกั้นลมด้วยอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องปากทำให้เสียงที่เปล่งออกมามีความแตกต่างกัน โดยเสียงพยัญชนะในภาษาไทยแบ่งออกเป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย ทั้งสองประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างไรเรามาค่อย ๆ ไล่ดูกันนะคะ

 

เสียงพยัญชนะต้น

เสียงพยัญชนะต้น คือ หน่วยเสียงที่ปรากฏอยู่ต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกมาได้อีก 2 ชนิดคือ พยัญชนะต้นเดี่ยวและพยัญชนะต้นประสม

 

เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว

เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว คือ หน่วยเสียงของรูปเสียงพยัญชนะไทย 44 รูป โดยมีทั้งหมด 21 หน่วยเสียง และเหตุที่พยัญชนะต้นเดียวมีหน่วยเสียงน้อยกว่าจำนวนพยัญชนะไทยทั้งหมดก็เพราะว่าพยัญชนะไทยบางตัว แม้จะเขียนต่างกัน แต่มีการออกเสียงเหมือนกันนั่นเองค่ะ พยัญชนะตัวไหนที่ออกเสียงเหมือนกันสามารถดูได้ตามตารางข้างล่างนี้เลย

 

 

ตัวอย่าง

ดินสอ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ด/

ศาลา เสียงพยัญชนะต้นคือ /ซ/

โคมไฟ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ค/

ลูกแก้ว เสียงพยัญชนะต้นคือ /ล/

ห่วงยาง เสียงพยัญชนะต้นคือ /ฮ/

 

ข้อควรจำ

เสียงพยัญชนะนาสิก : คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วลมส่วนหนึ่งถูกกักในช่องปากแต่ไม่ถูกปิดกั้นทางช่องจมูกทำให้ลมส่วนหนึ่งถูกปล่อยออกมาผ่านช่องจมูกได้ โดยพยัญชนะต้นเดี่ยวที่อยู่ในกลุ่มเสียงพยัญชนะนาสิกมีด้วยกัน 3 เสียง ได้แก่

เสียง /ง/ ฐานที่เกิดของเสียงคือ เพดานอ่อน

เสียง /ม/ ฐานที่เกิดของเสียงคือ ริมฝีปาก

เสียง /น/ ฐานที่เกิดของเสียงคือ ปุ่มเหงือก

เสียงพยัญชนะต้นประสม

เสียงพยัญชนะต้นประสม เป็นหน่วยเสียงที่มีพยัญชนะต้น 2 การออกเสียงจะต้องออกให้เป็นพยางค์เดียว ซึ่งเสียงควบกล้ำก็มีทั้งควบกล้ำและไม่แท้ เรามาดูที่คำควบกล้ำแท้ก่อนเลยค่ะ

 

เสียงควบกล้ำแท้

เสียงพยัญชนะไทยนั้น เมื่อมีพยัญชนะสองตัวที่อยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ เมื่ออ่านออกเสียงแล้วจะต้องอ่านเป็นพยางค์เดียวกัน โดยในคำควบกล้ำแท้จะเป็นการควบระหว่างตัวอักษร ก, ข, ค, ต, พ, ผ, ป, ท กับ ร, ล, ว เมื่อจับคู่แล้วจะได้พยัญชนะควบกล้ำดังนี้ค่ะ

 

ตัวอย่าง

เกรง  เสียงพยัญชนะต้นคือ /กร/

กลัว  เสียงพยัญชนะต้นคือ /กล/

กวาด เสียงพยัญชนะต้นคือ /กว/

ขรึม เสียงพยัญชนะต้นคือ /ขร/

เขลา  เสียงพยัญชนะต้นคือ /ขล/

ขวัญ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ขว/

ครีม เสียงพยัญชนะต้นคือ /คร/

เคลิ้ม  เสียงพยัญชนะต้นคือ /คล/

แคว้น เสียงพยัญชนะต้นคือ /ครว

เตรียม  เสียงพยัญชนะต้นคือ /ตร/

พริก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /พร/

พลอย เสียงพยัญชนะต้นคือ /พล/

เผลอ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ผล

ปราบ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ปร/

ปลูก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /ปล/

นิทรา คำว่า ทรา เสียงพยัญชนะต้นคือ /ทร/

 

นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ได้รับอิทธิพลมาจากคำในภาษาต่างประเทศอีก 5 เสียง ดังรูปข้างล่างนี้เลยค่ะ

เสียงพยัญชนะไทย

 

ตัวอย่าง

เบรก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /บร/

บล็อก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /บล/

ดรีม เสียงพยัญชนะต้นคือ /ดร/

ฟรี เสียงพยัญชนะต้นคือ /ฟร/

ฟลูออไรด์ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ฟล/

 

เสียงควบกล้ำไม่แท้

คือคำที่มีตัว ร ควบอยู่ แต่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว จะออกเสียงเพียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น เช่นคำว่า จริง เสียงต้นพยัญชนะคือ /จ/

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะต้น

คำบางคำที่แม้จะเป็นว่าขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ 2 ตัว แต่ก็ไม่ได้ออกเสียงเป็นคำควบกล้ำเสมอไป จึงไม่จัดเป็นพยัญชนะต้นประสม ดังนี้

 

  • /ทร/ เป็นคำควบกล้ำที่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว คือเสียง /ซ/

เช่น  ทรุดโทรม อ่านออกเสียงเป็น /ซ/ พยัญชนะต้นคือ /ซ/

 

  • อักษรนำ คือ คำที่ อ หรือ ห นำตัวอักษรต่ำเดี่ยว ได้แก่ /อย/ /หม/ และ /หน/

เช่น อยาก อ่านออกเสียงเป็น /ย/ พยัญชนะต้นคือ /ย/

หรือคำว่า หนี อ่านออกเสียงเป็น /น/ พยัญชนะต้นคือ /น/

หลังจากที่ได้เรียนรู้พยัญชนะต้นเไปแล้ว เรามาดูเรื่องพยัญชนะท้ายกันบ้างค่ะ

 

เสียงพยัญชนะท้าย

พยัญชนะท้าย หรือ หน่วยเสียงพยัญชนะตัวสะกด ในภาษาไทยมีทั้งหมด 8 เสียงด้วยกันค่ะ

เสียงพยัญชนะไทย

เสียงพยัญชนะไทย

 

ตัวอย่าง

สุนัข เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ก/ หรือ แม่กก

อำนาจ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ด/ หรือ แม่กด

สุภาพ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /บ/ หรือ แม่กบ

สีแดง เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ง/ หรือ แม่กง

บริเวณ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /น/ หรือ แม่กน

นม เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ม/ หรือ แม่กม

เปื่อย เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ย/ หรือ แม่เกย

กลัว  เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ว/ หรือ แม่เกอว

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะท้าย

คำบางคำที่แม้ว่าจะไม่มีพยัญชนะต่อท้ายแต่ก็มีเสียงพยัญชนะรวมอยู่ในสระแล้ว ได้แก่

อำ มาจาก  อะ+ม

ไอ ใอ อัย มาจาก อะ + ย

เอา มาจาก อะ + ว

ถ้าไม่สังเกตให้ดีอาจจะทำให้สับสนและเข้าใจว่าไม่มีพยัญชนะท้ายได้ค่ะ

ตัวอย่างพยัญชนะท้ายที่เสียงพยัญชนะรวมอยู่ในสระ

ระกำ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ม/ หรือ แม่กม

ผ้าใบ เสียงพยัญชนะคือ /ย/ หรือ แม่เกย

ภูเขา เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ว/ หรือ แม่เกอว

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงช่วยให้น้อง ๆ หลายคนเริ่มเข้าใจการออกเสียงพยัญชนะไทยกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ จะเห็นได้ว่าการออกเสียงพยัญชนะไทยนั้นแม้จะดูซับซ้อนแต่ก็ไม่ยากเกินที่จะทำความเข้าใจเลย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายและดูตัวอย่างแบบฝึกหัดเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้ที่คลิปข้างล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เกิดจากสิ่งสองสิ่งมาเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของ a กับ b ซึ่ง a มากกว่า b เป็นต้น ก่อนที่เราจะเริ่มเนื้อหาของความสำคัญพี่อยากให้น้องๆรู้จักกับคู่อันดับ และผลคูณคาร์ทีเซียนก่อนนะคะ คู่อันดับ ในการเขียนคู่อันดับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว เพราะถ้าน้องๆเขียนคู่อันดับผิดตำแหน่งนั่นหมายความว่า ความหมายของมันจะเปลี่ยนไปทันที เช่น คู่อันดับ (x, y) โดย x

Profile Linking Verbs

มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น

สวัสดีค่ะนักเรียนม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น แต่ก่อนอื่นไปดูความหมายของ Linking Verbs กันก่อนนะคะ ไปลุยกันเลย มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs     Linking verbs คืออะไรกันนะ Linking แปลว่า การเชื่อม มาจากรากศัพท์ link ที่เป็นกริยาเติมด้วย

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยา

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยากันเถอะ   สวัสดีค่ะ มาพบกับแอดมินและ Nock Academy กับบทความเตรียมสอบเข้าม.1 กันอีกแล้วแต่วันนี้เรามาในบทความการสอบเข้าของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนหญิงล้วนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานกว่า 118 ปี อีกทั้งยังเคยเป็นสถานศึกษาของสมเด็จย่าและเคยได้รับเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันธ์กับราชวงศ์ของไทยและเป็นสถานที่ที่เคยต้อนรับราชวงศ์ชั้นสูงมาแล้วอีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรื่องของความเก่าแก่และยาวนานของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนสตรีวิทยานั้นเป็นที่รู้จัก แต่ในด้านของวิชาการก็มีความเข้มข้นและการแข่งขันที่สูงด้วยเช่นเดียวกัน โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มีอัตราการสอบเข้าศึกษาที่สูงมากในแต่ละปี

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1