คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำซ้ำ

 

 

คำซ้ำคืออะไร?

 

คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง การออกเสียงคำซ้ำคำเดิมให้ต่อเนื่องกันโดยใช้เครื่องหมายไม้ยมก(ๆ) เติมหลังคำ

 

ประเภทของคำซ้ำ

 

คำซ้ำที่ไม่เปลี่ยนเสียง

คำที่นำมาซ้ำกันโดยใช้ไม้ยมก

 

คำซ้ำที่เปลี่ยนเสียง

คำที่นำมาซ้ำกันจะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เพื่อเน้นความหมาย

 

คำซ้ำ

 

วิธีสร้างคำซ้ำ

 

 

หลักการใช้ไม้ยมก

 

 

หลักการใช้ไม้ยมกในคำซ้ำ ต้องใช้กับคำที่เขียนเหมือนกันเท่านั้น ในความหมายและหน้าที่เดียวกัน โดยปกติจะอยู่คำหลังเพื่อซ้ำความหมายของคำให้แตกต่างกันออกไป

 

คำที่ไม่สามารถใช้ไม้ยมกได้

 

คำซ้ำ

 

ความหมายของคำซ้ำ

 

เมื่อนำคำมาซ้ำกันแล้วจะได้ความหมายที่ต่างกันออกไป ดังนี้

 

คำซ้ำ

 

1. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไปเชิงเพิ่มปริมาณ (พหูพจน์) ใช้เมื่อต้องการบอกว่าสิ่งนั้นมีจำนวนมาก

เขามีรถเป็นสิบ ๆ คัน – ปริมาณเพิ่มขึ้น มีรถหลายคัน

เพื่อน ๆ มากันแล้ว – มีเพื่อนมาหลายคน

เด็ก ๆ กำลังกินข้าว – เด็กหลายคนกำลังกินข้าว

2. ซ้ำแล้วความหมายแยกจำนวน ใช้เมื่อต้องการแยกเป็นอย่าง ๆ ไปเป็นสัดส่วน ใช้กับลักษณะนาม

เราได้ค่าแรงเป็นวัน ๆ – ค่าแรงได้เป็นรายวัน

ครูตรวจเล็บนักเรียนเป็นคน ๆ ไป – ครูตรวจเล็บนักเรียนทีละคน

สมศรีหั่นแตงโมเป็นชิ้น ๆ – สมศรีหั่นแตงโมออกทีละชิ้น

3. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไปเชิงลดปริมาณ ใช้เมื่อต้องการบอกความหมายให้เบาลง อ่อนลง

เธอยังเจ็บขาอยู่ค่อย ๆ เดิน – ค่อย ๆ หมายถึงเดินให้ช้าลง

ผู้หญิงที่ใส่เสื้อสีแดง ๆ – ผู้หญิงไม่ได้ใส่เสื้อสีแดงแต่อาจจะเป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีแดง

อาหารรสชาติคล้าย ๆ กับที่แม่ฉันทำ – รสชาติอาหารคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน

4. ซ้ำแล้วความหมายเป็นเชิงคาดคะเน ไม่แน่นอน

เขานั่งอยู่แถวหลัง ๆ – บอกว่านั่งอยู่แถวหลังแต่ไม่ระบุชัดเจนว่าแถวที่เท่าไหร่

บ้านฉันอยู่แถว ๆ ริมน้ำ – บ้านอยู่แถวริมน้ำแต่ไม่ระบุว่าริมน้ำตรงไหน

พรุ่งนี้เราเจอกันดึก ๆ หน่อย – เจอกันตอนดึกแต่ไม่ระบุว่ากี่โมง

5. ซ้ำแล้วความหมายหนักขึ้น เน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น อาจใช้ไม้ยมกหรือเปลี่ยนวรรณยุกต์เพื่อเสียงเพื่อนเน้น

ในที่สุดก็มีวันหยุด ฉันดีใจ๊ดีใจ – เน้นว่าดีใจมาก ๆ 

บ้านเพื่อนฉันร้วยรวย – เน้นว่ารวยมา

อาหารที่เธอทำมันเค็มมาก ๆ – เน้นว่ารสชาติเค็มมาก

6. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไป

คนนี้พูดภาษาญี่ปุ่นแบบงู ๆ ปลา ๆ – งู ๆ ปลา ๆ หมายถึง มีความรู้เพียงเล็กน้อย, รู้ไม่จริง, รู้ไม่ลึกซึ้ง

อยู่ ๆ ฉันก็สะดุ้งตื่น – อยู่ ๆ หมายถึง ไม่มีเหตุผล

เรื่องกล้วย ๆ แค่นี้ฉันทำได้ – กล้วย ๆ หมายถึงง่าย

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องการสร้างคำซ้ำ ง่ายกว่าที่คิดใช่ไหมล่ะคะ? คำซ้ำเป็นคำที่หลายคนมองว่าง่าย ไม่มีอะไรมากแค่เติมไม้ยมก แต่บางครั้งในข้อสอบก็อาจจะมีโจทย์ที่หลอกให้เราสับสนได้ เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ น้อง ๆ ควรหมั่นฝึกฝนและทบทวนอยู่เสมอนะคะ โดยในระหว่างที่ทำแบบฝึกหัดก็อย่าลืมเปิดคลิปการสอนของครูอุ้มดูไปด้วยเพื่อฟังคำอธิบายและหลักการจำอย่างง่าย ๆ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สัญลักษณ์พื้นฐานเกี่ยวกับเซต

สัญลักษณ์ของเซตจะช่วยให้เราไม่ต้องเขียนประโยคยาวซ้ำๆ และใช้ได้เกือบทุกบทของวิชาคณิตศาสตร์ ช่วยให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่บนกระดาษมากๆ

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง การวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้จะเป็นการวัดความยาวของวงกลม 1 หน่วย วงกลมหนึ่งหน่วย คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด และมีรัศมียาว 1 หน่วย จากสูตรของเส้นรอบวง คือ 2r ดังนั้นวงกลมหนึ่งหน่วย จะมีเส้นรอบวงยาว 2 และครึ่งวงกลมยาว   จุดปลายส่วนโค้ง   จากรูป จะได้ว่าจุด P เป็นจุดปลายส่วนโค้ง   จากที่เราได้ทำความรู้จักกับวงกลมหนึ่งหน่วยและจุดปลายส่วนโค้งแล้ว

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

can could

การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1