ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์
และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย

 

ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ

ความน่าเชื่อถือ หมายถึง สิ่งที่แม่นยำ ทำซ้ำได้อย่างถูกต้องในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ทำได้คงเส้นคงวาไม่ผิดพลาดไปจากเดิมซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ

สื่อ คือ ช่องทางที่ใช้ติดต่อ หรือเชื่อมต่อถึงกัน เป็นตัวกลางในการส่งสาร ส่งเนื้อหาไปยังผู้รับสาร

 

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ประเภทของสื่อที่ฟัง

1.สื่อประเภทข่าว คือ สื่อที่มีการถ่ายทอด หรือนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ เรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ ณ ขณะนั้น เรื่องที่ได้ยินมาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข่าวลือ 

2.สื่อบันเทิง คือ สื่อที่เน้นนำเสนอความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องข้อเท็จจริง หรือข้อมูลมาก เราจะเห็นการผลิตสื่อบันเทิงในรูปแบบ รายการ ละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ให้คนที่รับชมได้ความสนุก เพลิดเพลินใจ

3. สื่อโฆษณา คือ สื่อที่ใช้เพื่อการนำเสนอสินค้า โปรโมตสินค้า และบริการ มุ่งเน้นการโน้มน้าวใจ หรือชักจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้คนมีความต้องการซื้อมากขึ้น

4. สื่อออนไลน์ คือ สื่อที่ใช้รูปแบบการนำเสนอบนโลกออนไลน์ ใช้การเข้าถึงด้วยอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ เบราว์เซอร์ หรือแอปพลิเคชัน เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว และมีเนื้อหาหลากหลาย

 

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

 

วิเคราะห์ลักษณะของสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ

  • มีเนื้อหาที่สมเหตุสมผล มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนสามารถตรวจสอบได้
  • เป็นสื่อที่มีความทันสมัย ควรระบุว่ามีการเผยแพร่เมื่อใด มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
  • สำนวนภาษาที่ใช้ต้องมีความเข้าใจง่าย ให้ข้อมูลชัดเจนไม่ได้มีลักษณะไปในทางชวนเชื่อหรือ ทำให้ผู้รับสารเข้าใจคลาดเคลื่อน
  • ถ้าหากเป็นเนื้อหา หรือสื่อประเภทข่าวต้องมีการลำดับเนื้อเรื่องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เรียงลำดับตั้วแต่ต้นจนจบได้อย่างเข้าใจ ไม่ปิดบัง อำพราง หรือบิดเบือนข้อมูลข่าว ต้องสามารถบอกเวลา และสถานที่ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • หากเรื่องนั้นมีการแสดงความคิดเห็นประกอบให้เราพิจารณา ไตร่ตรองตามความเป็นจริง และไม่เอนเอียง
    ไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อตามหลัก และเหตุผลอันเป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือจริง ๆ
  • แยกแยะให้ได้ว่าจุดประสงค์ของสื่อนั้นสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร เป็นสื่อประเภทใด โฆษณา หรือข่าวสาร

บทส่งท้าย

ปัจจุบันสื่อมีหลายช่องทาง สารมีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ ดังนั้น น้อง ๆ ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาจากสื่อที่ฟังให้ได้ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เป็นไปในทางชักจูงใจ หรือเป็นความจริง ซึ่งเรามักจะต้องใช้ทักษะนี้ในการฟังข่าวสาร หรือฟังโฆษณา ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ก็จะช่วยให้เราได้รับสาระประโยชน์จากสื่อที่เราฟังได้อย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ หรือปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องไม่เป็นภัยกับตัวเอง ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย หรืออยากเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำไทยที่มักอ่านผิด มีคำใดบ้างที่เราควรรู้?

การอ่านผิด เป็นปัญหาในการอ่านออกเสียง มีสาเหตุมาจากอ่านไม่ออก หรือ อ่านผิด หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญ แต่รู้หรือไม่คะ ว่าการอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นผิดเพี้ยนไป หรือกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปเลยก็ได้ บทเรียน คำไทยที่มักอ่านผิด ในวันนี้ เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การอ่านสะกดคำที่ถูกต้อง กับคำในภาษาไทยที่คนส่วนใหญ่มักอ่านผิดกันบ่อย ๆ จะมีคำใดบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำไทยที่มักอ่านผิด   ลักษณะของการอ่านผิดมีดังนี้

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด  แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ)  ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้ 10 = 10 = 10¹ 100 = 10

เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1