การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร

ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ

ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง:
1. ชื่อแผนภูมิ
2. จำนวน
3. ชื่อรายการ
4. แท่งเเสดงข้อมูล
5. ประเภทของข้อมูล

โดยแผนภูมิด้านบนเเสดงถึงจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดเเบ่งกลุ่มเป็นเดือน เเละมีเเท่งเเสดงข้อมูล สีส้ม, สีเหลือง, เเละสีเขียว เเสดงข้อมูลของนักเรียนชั้น ม.1, ม.2, เเละ ม.3 ตามลำดับ ซึ่งแผนภูมิที่ได้น้อง ๆ สามารถนำไปแปลความหมายเป็นข้อมูลต่าง ๆ ได้


ตัวอย่างการเเปรความหมายเเผ่นภูมิเเท่ง

ตัวอย่างที่ 1 จากเเผนภูมิด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม มีทั้งหมดกี่คน

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 (เเท่งสีเขียว) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดตั้งเเต่เเต่เดือน มกราคม ถึง เมษายน มีค่าเท่ากับ
= จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 เดือนมกราคม  + เดือนกุมภาพันธ์ + เดือนมีนาคม + เดือนเมษายน
= 400 + 500 + 600 + 500

ตอบ ทั้งหมด 2,000 คน

ตัวอย่างที่ 2 จากเเผนภูมิด้านบน เดือนที่มีจำนวนนักเรียนเข้ามาใช้บริการมากที่สุด คือเดือนอะไร เเละจำนวนเท่าใด

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการในเเต่ละเดือนมีดังนี้
เดือนมกราคม      จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 100 + 200 + 400  = 700 คน
เดือนกุมภาพันธ์   จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 400 + 300 + 500 = 1,200 คน
เดือนมีนาคม        จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 350 + 200 + 600 = 1,150 คน
เดือนเมษายน      จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 + ม.2 + ม.3 = 600 + 550 + 500 = 1,650 คน

ตอบ เดือนเมษายน จำนวน 1,650 คน

ตัวอย่างที่ 3 จากเเผนภูมิด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.2 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าเดือนมีนาคมเท่าใด

วิธีทำ     จากเเผนภูมิเเท่งจำนวนนักเรียนชั้นม.2 (เเท่งสีเหลือง) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเดือนกุมภาพันธ์ทั้งหมด 300 คน เเละในเดือนมีนาคมทั้งหมด 200 คน
ดังนั้น   จำนวนนักเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ – จำนวนนักเรียนในเดือนมีนาคม        = 300 – 200 คน

  = 100 คน

ตอบ มีจำนวนมากกว่าทั้งหมด 100 คน

ตัวอย่างที่ 4 จากเเผนภูมิด้านบน ตั้งเเต่เดือนมกราคม ถึง เมษายน จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเเต่ละเดือนเป็นเท่าใด

วิธีทำ     จากแผนภูมิเเท่ง จำนวนนักเรียนชั้น ม.1 (เเท่งสีส้ม) ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดในเเต่ละเดือนมีจำนวนดังนี้
เดือนมกราคม               จำนวน 100 คน
เดือนกุมภาพันธ์           จำนวน 400 คน
เดือนมีนาคม                 จำนวน 350 คน
เดือนเมษายน               จำนวน 600 คน

โดยทั้ง 4 เดือน มีจำนวนนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการทั้งหมดรวมกัน = 100 + 400 + 350 + 600 = 1450 คน
ดังนั้น จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 มีค่า       =    จำนวนทั้งหมดรวมกัน/จำนวนเดือน

=     1,450 คน/4 เดือน

=     362.5 คน/เดือน

ตอบ จำนวนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใช้บริการห้องสมุดมีค่าเท่ากับ 362.5 คน/เดือน

ตัวอย่างที่ 5 จากเเผนภูมิเเท่งด้านบน จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 มีจำนวนเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคม

วิธีทำ     จากตัวอย่างที่ 2 จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ใช้บริการห้องสมุดในเดือนมีนาคมมีจำนวน 1150 คน
เเละจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ที่มาใช้บริการห้องสมุดในเดือนมีนาคมมีจำนวน 600 คน
ดังนั้น ร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ต่อจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคมมีค่า
= (จำนวนนักเรียนชั้น ม.3/จำนวนนักเรียนทั้งหมด) x 100
= (600/1150) x 100
= 52.17
ตอบ ร้อยละ 52.17 ของนักเรียนทั้งหมดที่มาใช้บริการในเดือนมีนาคม

เมื่อเราเเปลความหมายข้อมูลได้ เราสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ต่อไปในด้านอื่น ๆ ได้เพื่อต่อยอดหรือเเก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการตั้งคำถามง่าย ๆ เช่น  ทำไมช่วงเดือนเมษายนจึงมีนักเรียนเข้าใช้บริการห้องสมุดเยอะที่สุด อาจเป็นเพราะว่าใกล้ช่วงสอบนักเรียนจึงเข้าไปใช้บริการห้องสมุดเยอะ อาจจะเกิดปัญหาเก้าอี้ไม่พอในอนาคตได้ ดังนั้นทางห้องสมุดอาจจะเเก้ไขปัญหาด้วยการ เพิ่มจำนวนโต๊ะเเละเก้าอี้เพื่อให้มีที่นั่งเพียงพอกับนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการ

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง จะเห็นได้ว่ามีส่วนสำคัญในการเเก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ หากวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของการสร้างเเผนภูมิเเท่งเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละการเเปรความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิเเท่ง

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

Three-word Phrasal Verbs

Three-word Phrasal verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูมีกริยาวลีที่ใช้บ่อยแบบ 3 คำ หรือ Three-word Phrasal Verbs มาฝากกันจ้า ด้านล่างเลยน๊า ขอให้ท่องศัพท์ให้สนุกจ้า ตารางคำศัพท์Three-word Phrasal Verbs ต้องรู้   ask somebody out ชวนออกเดท/ชวนออกไปข้างนอก add up to something ทำให้สมน้ำสมเนื้อ/ทำให้เท่ากัน back something up

บทพากย์เอราวัณ

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ คำศัพท์ กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย อมรินทร์   

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

ศึกษา นิทานเวตาล เรื่องที่10 และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง

​ นิทานเวตาล เป็นนิทานเรื่องเล่าที่แฝงไปด้วยคุณค่าและคติธรรมมากมาย หากแต่เต็มไปด้วยคุณค่า สำหรับฉบับแปลไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีด้วยกัน 10 เรื่อง เรื่องที่อยู่ในแบบเรียนภาษาไทย คือเรื่องสุดท้าย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในนิทานเรื่องนี้เพื่อถอดความหมายและศึกษาคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านเนื้อหา และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยเลยค่ะ   ตัวบทเด่นใน นิทานเวตาล เรื่องที่10   บทที่ 1  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1