Auxiliary Verbs คืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม.5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Auxiliary Verbs ในภาษาอังกฤษกันครับ
auxiliary verbs

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Auxiliary Verbs in a Nutshell

Auxiliary Verbs หรือน้องๆ อาจจะคุ้นในชื่อ Helping Verbs ในภาษาอังกฤษ คือกริยาที่ใช้คู่กับกริยาแท้ (Main Verb) ในประโยคเพื่อช่วยบอก Tense และช่วยในประโยคปฎิเสธและประโยคคำถามอีกด้วยครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) Verb “To Do” ได้แก่ do, does, did, done

2) Verb “To Be” ได้แก่ be, is, am, are, was, were, being, been,

3) Verb “To Have” ได้แก่ have, has, had, having

verb to do

verb to be

verb to have

 

หน้าที่ของ Auxiliary Verbs

หลักๆ แล้วกริยาช่วยจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) ช่วยบอก Tense ของประโยค

เช่น

She has been waiting for an hour.

(เธอรอมาเป็นชั่วโมงแล้ว)

“has been” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “wait” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Present Perfect Continuous

 

He was talking to someone on the phone when I arrived.

(เขากำลังพูดกับใครบางคนผ่านโทรศัพท์ตอนที่ฉันมาถึง)

“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “talk” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Past Continuous Tense

 

At 10 O’clock tomorrow, I will be studying at the library.

(ตอนสิบโมงพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องสมุด)

“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “study” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Future Continuous Tense

 

2) ช่วยบอก Voice ของประโยคว่าเป็น Active หรือ Passive

เช่น

Hit by the car, the boy was hospitalised.

(เด็กผู้ชายที่โดนรถชนถูกนำส่งโรงพยาบาล)

“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “hospitalise” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (เด็กถูกนำส่งโรงพยาบาล)

 

This ticket is used to enter the concert hall.

(ตั๋วใบนี้ใช้เพื่อเข้าชมคอนเสิร์ต)

“is” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “use” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (ตั๋วถูกใช้)

 

The internet connection will be disconnected tomorrow.

(สัญญาณอินเทอร์เน็ตจะถูกตัดวันพรุ่งนี้)

“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “disconnect” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (สัญญานจะถูกตัด)

*ดูเพิ่มเติมเรื่อง Passive Voice ได้ที่นี่

 

3) ช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธ

เช่น

Did you submit your homework yesterday?

(คุณส่งการบ้านเมื่อวานหรือยัง?)

“did” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “submit” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคคำถาม

 

I don’t know who stole your wallet.

(ผมไม่รู้ว่าใครขโมยกระเป๋าสตางค์ของคุณไป)

“do not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “know” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ

 

He didn’t want to leave that happy moment.

(เขาไม่อยากออกไปจากช่วงเวลาที่มีความสุขนั้น)

“did not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “want” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ

 

เคล็ดลับของกริยาช่วย

1) โดยทั่วไปแล้วกริยาช่วยจะไม่มีความหมายในตัว เป็นเพียงแค่กริยาที่นำมาช่วยเสริมกริยาแท้เพื่อจุดประสงค์ที่บอกไปแล้วข้างต้น แต่กริยา “have” จะเป็นกริยาแท้หากแปลว่า “มี” หรือ “รับประทาน” และ “do” ที่แปลว่า “ทำ” ก็เป็นกริยาแท้เช่นกัน ลองดูความแตกต่างระหว่าง 2 ประโยคนี้

I have 2 dogs and 1 cat.

(ฉันมีสุนัข 2 ตัวและแมว 1 ตัว)

“have” ในประโยคนี้แปลว่า “มี” ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้

 

I have finished my assignment.

(ฉันทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว)

“have” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่มาช่วยขยายกริยาคือ “finish” บ่งบอกว่าประโยคนี้เป็น Present Perfect

 

2) Verb to be ที่ตามหลังด้วย Adjective หรือ Noun เพื่อบอกลักษณะ อาการ อาชีพ หรือคุณสมบัติอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นกริยาแท้เช่นกัน (แปลว่า เป็น/อยู่/คือ) เช่น

I am an engineer.

(ฉันเป็นวิศวะกร)

“is” เป็นกริยาแท้ แปลว่า “เป็น” เพราะอยู่หน้าคำนาม บ่งบอกอาชีพ

 

He is running in the park.

(เขากำลังวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะ)

“is” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่ขยายกริยา “run” เพื่อบ่งบอกว่าเป็น Present Continuous

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Auxiliary Verbs เรื่องนี้อาจจะดูสับซ้อนนิดหน่อย แต่หากน้องๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะสามารถแยกประเภทและใช้มันได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้านล่างได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions

การใช้ Yes/No Questions  และ Wh-Questions

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม 2กลุ่ม ได้แก่ “การใช้  Yes/No Questions  และ Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Yes/No Questions คืออะไร?   Yes/ No Questions ก็คือ กลุ่มคำถามที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า Yes ใช่  หรือ

NokAcademy_Past Tense และ Present Continuous Tense

เรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense  ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด มาเริ่มกันกับ Past Tenses   ก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถาณการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational usage”

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง “ระบบจำนวนจริง” เป็นรากฐานสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยจำนวนต่างๆ ได้แก่ จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ จำนวนเต็ม จำนวนนับ โครงสร้าง ระบบจำนวนจริง มนุษย์เรามีความคิดเรื่องจำนวนและระบบการนับมาตั้งแต่โบราณ และจำนวนที่มนุษย์เรารู้จักเป็นอย่างแรกก็คือ จำนวนนับ การศึกษาระบบของจำนวนจึงใช้พื้นฐานของจำนวนนับในการสร้างจำนวนอื่นขึ้นมา จนกลายมาเป็นจำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน (เนื้อหาม.5) ดังนั้น ถ้าน้องๆเข้าใจจำนวนนับแล้วน้องๆก็จะสามารถศึกษาระบบจำนวนอื่นๆได้ง่ายขึ้น   โครงสร้าง     จำนวนจริง จำนวนจริงคือจำนวนที่ประกอบไปด้วย

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง การแก้สมการกำลังสอง สามารถทำได้โดยการ แยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง และใช้สูตร เราแก้สมการเพื่อหาคำตอบหรือหาค่าของตัวแปร ในบทความนี้พี่จะพูดถึงสมการกำลังสองตัวแปรเดียว ซึ่งอยู่ในรูป ax² + bx + c = 0 โดยที่ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ตัวอย่างสมการกำลังสองตัวแปรเดียว 

เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

การสร้างคำประสม   คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำประสม     คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1