เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ
conjunctions

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Conjunctions คืออะไร?

ในภาษาอังกฤษจะมีคำประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Conjunctions หรือแปลเป็นไทยว่าคำสันธานครับ ซึ่งคำเหล่านี้จะมีหน้าที่เชื่อมไอเดียของคำหรือประโยคเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เราเข้าใจสิ่งที่กำลังอ่านหรือฟังได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

หากไม่มีคำเชื่อมแล้ว เราก็จะเหมือนถูกบังคับให้สื่อสารผ่านประโยคที่เป็นประโยคความเดียวเท่านั้น เช่น หากเราต้องการบอกว่าผู้ชายคนนี้สูงและขยันมาก เราอาจพูดได้ว่า

He is tall. He is diligent.

แต่ถ้าเราใช้คำเชื่อมมาช่วยจะช่วยให้ประโยคกระชับ และไม่ฟุ่มเฟือยซึ่งจะสื่อความได้เข้าใจมากขึ้น

He is tall and diligent.

“and” คือตัวอย่างของ Conjunctions

 

Coordinating Conjunctions

คำสันธานประเภทแรกเรียกว่า Coordinating Conjuntions ครับ เป็นคำเดี่ยวๆ ทีมีหน้าที่เชื่อมคำ วลี และอนุประโยค (clause) เข้ากับประโยค ซึ่งกลุ่มคำสันธายเหล่านี้ได้แก่ for (เพราะ), and (และ), nor (ไม่ทั้ง…), but (แต่), or (หรือ), yet (แต่,ยัง), so (เพื่อที่) หรือจำง่ายๆ ว่า FANBOYS นั่นเอง

fanboys

 

ตัวอย่าง

I love reading fantasy novels for they take me to a different world.

(ฉันชอบอ่านนิยายแฟนตาซีเพราะเหมือนว่าได้ไปอยู่อีกโลกหนึ่ง)

Peter is an exceptional and intelligent student.

(ปีเตอร์เป็นนักเรียนที่โดดเด่นและฉลาด)

I don’t like talking with your mom nor your dad.

(ฉันไม่ชอบการพูดคุยกับแม่ของคุณไม่แม้กระทั่งพ่อของคุณ)

His essay is acceptable but there are still some grammatical mistakes.

(เรียงความของเราพอใช้ได้แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดเรื่องไวยากรณ์อยู่บ้าง)

You must choose between going out or staying home.

(คุณต้องเลือกระหว่างการออกไปข้างนอกหรือการอยู่ที่บ้าน)

He has been practised really hard, yet his performance is still not satisfying.

(เขาฝึกฝนหนักมากแต่การแสดงของเขาก็ยังไม่ค่อยน่าพอใจ)

Could you give me a hand so I can finish this in time?

(คุณพอจะช่วยฉันหน่อยได้มั้ยเพื่อที่ฉันจะได้เสร็จทันเวลา?)

 

*ข้อควรระวัง คำ วลี หรืออนุประโยคที่ถูกเชื่อมด้วยคำสันธานต้องมีลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนกัน (parallel) เช่น

She works quickly and neat.

ประโยคนี้ผิดหลักไวยากรณ์เพราะว่าคำที่อยู่หน้าและหลัง “and” จะต้องเป็น Part of Speech เดียวกัน

She works quickly and neatly.

แบบนี้จึงจะเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

 

Correlative Conjunctions

ประเภทต่อมาเป็นคำสันธานที่อยู่กันเป็นคู่และใช้คู่กันเสมอ ได้แก่ either…or (ไม่…ก็…), neither…or (ไม่ทั้ง…และ…), not only…but also (ไม่เพียงแต่…แต่ยัง…)

correlative conjunctions

 

ตัวอย่าง

It was either John or Peter who received the email.

(ไม่จอห์นก็ปีเตอร์ที่ได้รับอีเมล)

Margaret likes neither London nor Paris. She prefers Asian countries.

(มาร์กาเร็ตไม่ชอบทั้งลอนดอนและปารีส เธอชอบประเทศแถบเอเชียมากกว่า)

Bangkok is not only a capital city of Thailand but also a popular travel destination.

(กรุงเทพไม่เพียงแต่เป็นเมืองหลวงของไทยแต่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย)

 

Subordinating Conjunctions

คำสันธานกลุ่มสุดท้ายมีหน้าจะเชื่อมประโยคเข้าด้วยกันเพื่อบอกลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล หรือการเปรียบเทียบ คำสันธานที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ because (เพราะ), since (ตั้งแต่,เพราะ), as(เพราะ,เนื่องจาก), as though (ราวกับว่า), although(แม้ว่า), though(แม้ว่า), while(ขณะที่), whereas(ในขณะที่) เป็นต้น

subordinating conjunctions

 

ตัวอย่าง

They are angry because the football match has been cancelled.

(พวกเขาโกรธเพราะว่าการแข่งขันฟุตบอลถูกยกเลิก)

I’m going to buy him a present since today is his birthday.

(ฉันจะซื้อของขวัญให้เขาเพราะวันนี้เป็นวันเกิดของเขา)

As she failed the final exam, she needs to study harder.

(เพราะเธอสอบตก เธอจึงต้องเรียนหนักขึ้น)

He spends a month travelling in Japan as though he has no job to do.

(เขาใช้เวลาหนึ่งเดือนท่องเที่ยวในญี่ปุ่นราวกับว่าเขาไม่มีงานต้องทำ)

He keeps reading for the exam though it is 3 a.m.

(เขายังคงอ่านหนังสือสอบต่อไปแม้ว่าจะตีสามแล้ว)

Dogs are considered loyal whereas cats are considered lazy.

(สุนัขถูกจัดว่าซื่อสัตย์ในขณะที่แมวถูกจัดว่าขี้เกียจ)

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Conjunctions ที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการเขียนและการสนทนาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงหรือบอกเหตุและผลความคิดที่เราต้องการได้นั่นเองครับ น้องสามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเลขคณิต คือการนำลำดับเลขคณิตแต่ละพจน์มาบวกกัน โดย เขียนแทนด้วย จากบทความ “สัญลักษณ์การบวก” ซึ่งเป็นการลดรูปการเขียนจำนวนหลายจำนวนบวกกัน ในบทความนี้จะพูดถึงการบวกของลำดับเลขคณิต การหาผลบวก สูตรสำหรับการหาผลบวกเลขคณิต สูตรอนุกรมเลขคณิต สูตรของอนุกรมเลขคณิตมีอยู่ 2 สูตร ดังนี้ 1)   โดยที่ d คือ ผลต่างร่วม 2)   โดยจะใช้สูตรนี้ก็ต่อเมื่อรู้ค่า

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค เกริ่นนำเกริ่นใจ   ภาพใหญ่ของ Will และ Be going to การจะเข้าใจอะไรได้อย่างมั่นใจและคล่องตามากขึ้น เราในฐานะผู้เรียนรู้ควรที่จะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน โดย Will เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

มาสำรวจรอบๆโรงเรียนกันดีกว่า: การใช้ There is/There are แบบเข้าใจง่ายๆ

เชื่อว่าช่วงนี้น้องๆ น่าจะเปิดเทอมกันมาได้สักพักนึงแล้ว แล้วน้องๆ เคยมีเวลาไปสำรวจรอบๆ โรงเรียนของเรากันรึยังเอ่ย? วันนี้พี่จะมาบอกประโยคง่ายๆ ที่ใช้พูดเวลาเจอสิ่งที่น่าสนใจรอบๆโรงเรียนของเรากัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1