อนุประโยค Relative Clause ใช้อย่างไรในภาษาอังกฤษ

Relative Clause

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Relative Clause คืออะไร?

 

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ

 

Relative Clause

 

ตัวอย่างประโยค

A girl is talking to Daniel. Do you know the girl?

ผู้หญิงกำลังคุยกับแดเนียล คุณรู้จักผู้หญิงมั้ย หากถามแบบนี้จะดูยาวและทะแม่งๆ ไม่คุ้นหูฝรั่งสักเท่าไหร่ โดยปกติเวลาเราจะเปลี่ยนประโยค 2 ประโยคให้เป็น Relative Clause โดยการดึงเอาส่วนที่เป็นประโยคหลักมาก่อนในที่นี้ก็คือ เราอยากรู้ว่าผู้ชายคือใคร คุณแดเนียลนั่นน่ะ

ขั้นตอนที่1 คือ แยกประโยคหลัก Do you know the girl? จากประโยคข้างต้น เราไม่มีทางรู้เลยว่าผู้หญิงที่พูดถึงเป็นใคร ดังนั้นเราจึงต้องใส่ข้อมูลเพิ่มเติม A girl is talking to Daniel. ใช้ A girl is talking to Daniel. เฉพาะในส่วนประโยคแรก และในส่วนที่สองเราแทนที่ด้วย relative pronoun
(ใช้ who ในกรณีอ้างถึงบุคคล) ดังนั้นประโยคจะเปลี่ยนเป็น

” Do you know the girl who is talking to Daniel? “

Example-What-is-relative-clause

คุณรู้จักผู้หญิงที่กำลังคุยกับแดเนียลมั้ย เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะเห็นภาพของการใช้งาน Relative Clause แล้วใช่มั้ยคะ? อย่าพึ่งท้อนะคะ ไปลุยกันต่อกับประเภทของ Relative Clause เห็นข้อดีของการใช้ Relative pronoun หรือยังล่ะทีนี้ วันนี้ยังเหลืออีกเพียบไปดูกันเลยค่ะ

ประเภทของ Relative Clause

Types-What-is-relative-clause

Relative Clause สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ Defining Relative Clause และ Non-defining Relative Clause  ขอเกริ่นก่อนว่าเราจะใช้ defining relative clause เพื่อบอกถึงสิ่งที่เรากำลังพูดถึง (หากขาดไปก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพูดถึงอะไร)
เช่น I like the handsome man who sits next to me.
(ถ้าเราไม่บอกว่า “who sits next to me” ก็จะไม่ทราบเลยว่าหมายถึงผู้ชายคนไหน)

เราใช้ non-defining relative clause บอกถึงข้อมูลเพิ่มเติมของสิ่งที่เรากำลังพูดถึง (เราไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลนี้เพื่อที่จะเข้าใจว่าพูดถึงอะไร) เช่น

I live in Thailand, which has beautiful tourist attractions.
(ประเทศไทยมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจดังนั้น “which has beautiful tourist attractions.”  ถือเป็นข้อมูลเพิ่มเติม จะมีหรือไม่มีก็ได้)

 

สรุปการใช้ Defining Relative Clauses

 

Defining relative clause

1. ทำหน้าที่คล้ายคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อไปขยายนามที่อยู่ข้างหน้า ให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนว่า หมายถึง ใคร สิ่งไหน หรือ ของใคร เป็นต้น
2. ไม่มีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างนามกับ Defining Relative Clause
3. จะขึ้นต้นด้วยคำสรรพนาม (Relative Pronoun) ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับนามที่ขยาย เช่น ถ้าขยายนามที่เป็นคน Relative Pronoun ก็ต้องเป็นคำที่ใช้แทนคน ฯลฯ

หน้าที่ของ Relative Pronoun จะมีหน้าที่อยู่ 3 ประการหลัก คือ

ทำหน้าที่เป็นประธาน มี 2 แบบ คือ

1.1  ถ้าเป็นคนใช้ who เช่น

I’m looking for a teacher who can teach me well.

ฉันกำลังมองหาครูที่สามารถสอนได้ดี

1.2 ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของใช้ which หรือ that เช่น

The mobile phone which / that is on the yellow shelf is mine.

มือถือที่วางอยู่บนชั้นวางของสีเหลืองเป็นของฉัน

  1. ทำหน้าที่เป็นกรรม มี 2 แบบ ได้แก่

2.1 ถ้าเป็นคนใช้ whom เช่น

The woman whom I talked to yesterday is Liza from Black Pink band.

ผู้หญิงที่ผมคุยด้วยเมื่อวานคือลิซ่าจากวงแบล็คพิงค์

2.2 ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของ ใช้ which หรือ that เช่น

I like the notebook that Jenny used yesterday.

ฉันชอบสมุดจดบันทึกที่เจนนี่ใช้เมื่อวานนี้

  1. 3. ทำหน้าที่เป็น “เจ้าของ” มี 2 แบบ คือ

3.1 เป็นคน ใช้ whose เช่น

The beautiful girl whose wallet is made from leather is Angelina.

ผู้หญิงคนสวยที่ถือกระเป๋าหนังใบนั้นชื่อแองเจลลิน่า

3.2 หากเป็นสัตว์หรือ สิ่งของให้ใช้ of which เช่น

The motorbike of which hand-break is broken has already been fixed last week.

รถมอเตอร์ไซค์คันที่เบรกมันเสียถูกซ่อมแล้วนะตั้งแต่อาทิตย์ก่อน

 

การใช้ Non-defining Relative Clauses

N0n-Defining relative clause NokAcademy

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคนสำหรับการใช้  Defining relative clauses  ซึ่งจะต่างจาก Non-defining relative Clause ลองไปดูลักษณะที่สำคัญ อยู่ 3 ประการกันค่ะ
1. ลักษณะจะเป็น clause ที่เพิ่มเข้ามา ไม่มีความจำเป็นกับใจความหลักในประโยคแค่เราเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้ความละเอียดมากขึ้นเฉยๆ
2. ต้องมีเครื่องหมาย Comma ข้างหน้าและข้างหลัง clause เสมอนะคะ ย้ำว่าเสมอ
3. ใช้กับ Relative pronouns ซึ่งไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่ who, whom, whose หรือ which เท่านั้น จะใช้ that ไม่ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

My boyfriend, who is very handsome, lives in Korea.

แฟนของฉัน คนที่หล่อๆนั่นน่ะ อยู่ที่เกาหลี

Relative pronouns:

 

Relative Pron.

 

Relative pronoun ได้แก่คำว่า who, whom, whose, which, that, where, when, why เราจะใช้ relative pronoun ในการเชื่อมประโยคหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งใดๆ

ถาม: ถ้าตัด relative clause ทิ้งไป แล้วประโยคหลักไม่ได้มีใจความสำคัญเปลี่ยนไปมั้ยคะ
ตอบ: ไม่จำเป็นค่ะ เราจะใช้คอมม่าคั่นระหว่าง relative clause กับประโยคหลักแค่นั้น
Relative pronoun ส่วนใหญ่จะเป็นได้ทั้งประธานและกรรม ยกเว้น whom ที่จะเป็นได้แค่กรรมเท่านั้นนะคะ ส่วนการใช้ relative pronoun เป็นกรรม เราสามารถละ relative pronoun ได้ เช่น The person (who/whom/that) I met yesterday is Tim.

ถามอีก: การใช้ relative pronoun แทนสิ่งต่างๆ จะมีข้อกำหนดว่าเราจะใช้ตัวไหนแทนสิ่งใดได้กันบ้างล่ะ

ตอบ: ใช้กับสิ่งต่างๆเหล่านี้ค่ะ

คน – who, whom (กรรม), whose, that

สัตว์ – who (สัตว์เลี้ยง), whose, which, that

สิ่งของ, สิ่งไม่มีชีวิต, สิ่งที่เป็นนามธรรม – whose, which, that

ถาม: แล้วการใช้ Where, when, why

ตอบ: เราจะใช้ where แทนสถานที่ ใช้ when แทนเวลา และใช้ why แทนเหตุผล

เมื่อใช้เชื่อม relative pronoun เป็นกรรม การใช้ preposition ใน relative clause กับ whose และ which นั้นเราสามารถนำ preposition มาไว้ข้างหน้า whose กับ which ได้ แต่ส่วนใหญ่เราจะเจอในการเขียนที่เป็นทางการ academic writing และเมื่อใช้ whom การใช้ preposition ใน relative clause เราจะนำ preposition มาไว้ข้างหน้า whom

 

 ตัวอย่างและรูปแบบการใช้งาน Relative Adverbs 

Relative adverbs

 

Relative adverb คือคำกริยาวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ กับอนุประโยค หรือ ประโยครองเพื่อขยายความเพิ่มเติมให้รู้ว่า เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 คำ ได้แก่ when where และ why

 

1) Relative Adverb ที่ใช้แทนสถานที่

where ใช้เป็นกรรมของประโยค แปลว่า สถานที่ซึ่ง ที่

The house where adopted children  live is very far.

บ้านหลังที่เด็กกำพร้าอาศัยอยู่ อยู่ไกลมาก

2) Relative Adverb ที่ใช้แทนเวลา

when ใช้เป็นกรรมของประโยค แปลว่า ที่

The time when I was ten years old, my mother passed away.

ตอนที่ฉันอายุได้สิบขวบ แม่ก็ได้จากไปแล้ว

3) Relative Adverb ที่ใช้แทนเหตุผล

why ใช้เป็นกรรมของประโยค แปลว่า ที่

I have no idea why Tina dumped Adwerd.

ฉันไม่รู้เหตุผลที่ตีน่าทิ้งแอดเวิร์ดเลย

เป็นยังไงกันบ้างคะอย่าลืมฝึกเขียนกันเยอะๆนะคะ เพื่อที่เราจะได้ฝึกแต่ง Relative Clause ให้เจ๋งๆ ถ้าเกิดว่าเรายังไม่เข้าใจจุดไหนสามารถโพสต์ถามได้ที่ด้านล่างเลยนะคะ ครูยินดีตอบเสมอ อย่าลืมทบทวนบทเรียนผ่านวีดีโอด้านล่างเด้อ เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำผู้อื่น

สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการให้คำแนะนำผู้อื่น

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป เรียนรู้สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการให้คำแนะนำผู้อื่น ( Idioms for helping and giving advice to others) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   บทนำ     สำนวนที่ใช้ในการถามและการให้คำแนะนำ นั้น คำศัพท์ที่เจอส่วนใหญ่มักจะมีคำว่า “advise” แปลว่า แนะนำ

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเลขคณิต คือการนำลำดับเลขคณิตแต่ละพจน์มาบวกกัน โดย เขียนแทนด้วย จากบทความ “สัญลักษณ์การบวก” ซึ่งเป็นการลดรูปการเขียนจำนวนหลายจำนวนบวกกัน ในบทความนี้จะพูดถึงการบวกของลำดับเลขคณิต การหาผลบวก สูตรสำหรับการหาผลบวกเลขคณิต สูตรอนุกรมเลขคณิต สูตรของอนุกรมเลขคณิตมีอยู่ 2 สูตร ดังนี้ 1)   โดยที่ d คือ ผลต่างร่วม 2)   โดยจะใช้สูตรนี้ก็ต่อเมื่อรู้ค่า

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

สำนวนนี้มีที่มา เรียนรู้ความหมายและที่มาของ สำนวนไทย

สำนวนไทย เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนใช้ความคิดและประสบการณ์สั่งสอนลูกหลาน เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านคติธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางภาษาของประเทศไทย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้สำนวนไทยที่เห็นกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะใช้ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียนรู้ที่มาของสำนวนด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   สำนวนไทย   สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำที่คมคายซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันโดยมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้ง เป็นความหมายโดยนัย ไม่ได้แปลตรงตัวเพื่อใช้เป็นคำพูดในเชิงสั่งสอน เตือนสติ มุ่งสอนใจหรือชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตาม   ที่มาของสำนวนไทย   สำนวนไทยมีมูลเหตุและที่มาของการเกิดหลายประการ

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1