การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ
some any

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Some และ Any คือ?

สำหรับคำว่า Some และ Any นั้นมีความหมายว่า “บางอันหรือบางสิ่ง” ซึ่งเรามักจะใช้นำหน้าคำนาม ทั้งคำนามที่นับได้และคำนามที่นับไม่ได้ โดยวันนี้พี่จะแบ่งประเภทของการใช้ Some/Any ดังนี้ครับ

 

รูปแบบของการใช้ some

1) some + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) จะให้ความหมายว่า “มีอยู่บ้าง” “บางอัน” เช่น

There are some apples in the basket.

(มีแอปเปิ้ลอยู่บ้างในตระกร้า)

There are some children in the playground.

(มีเด็กๆ บางคนอยู่ในสนามเด็กเล่น)

some apples

some children

 

2) some + คำนามนับไม่ได้ทั่วๆ ไป

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน มีความหมายเหมือนกับข้อที่แล้ว เช่น

There is some milk in the fridge.
(มีนมในตู้เย็นอยู่บ้าง)

some milk

 

3) some ในคำถามยื่นข้อเสนอ

หากน้องๆ ต้องการถามให้สักคนว่า ต้องการ…บ้างไหม? น้องๆ สามารถใช้ some นำหน้าคำนามนั้นๆ ได้ เช่น

Would you like some coffee?
(คุณต้องการรับกาแฟไหม?)

some coffee

 

รูปแบบของการใช้ any

โดยส่วนใหญ่น้องจะเจอคำว่า any ในประโยคคำถาม (แปลว่า บ้างไหม) หรือปฏิเสธ (แปลว่า ไม่มี…เลย) ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

1) any + คำนามนับไม่ได้

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ เช่น

Is there any sugar in the kitchen?
(มีน้ำตาลอยู่ในครัวบ้างไหม?)

I don’t have any money.
(ฉันไม่มีเงินเลย)

any sugar

any money

 

2) any + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) ซึ่งหากอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าจะแปลว่า “ใดๆ ก็ได้” เช่น

You can travel to any places.
(คุณสามารถไปเที่ยวที่ไหนก็ได้)

We can wear any shoes.
(เราสามารถใส่รองเท้าคู่ใดก็ได้)

any places

any shoes

 

นี่ก็เป็นกฎพื้นฐาน 5 ข้อ ของการใช้ Some และ Any พื้นฐานที่น้องๆ ควรจะต้องรู้ก็คือเรื่องคำนามนับได้/นับไม่ได้ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ใช้ Some และ Any ได้แม่นยำ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเรื่องนี้จากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหา บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย แต่ก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้อย่าลืมทบทวน การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กันก่อนนะคะ ถ้าน้องๆพร้อมแล้วเรามาศึกษาขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการ ดังนี้               ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ว่ากำหนดอะไรให้บ้าง และให้หาอะไร               ขั้นที่ 2 กำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ให้หาหรือแทนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่โจทย์ให้หา               ขั้นที่ 3 เขียนสมการตามเงื่อนไขของโจทย์               ขั้นที่

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

พาราโบลา

พาราโบลา

พาราโบลา พาราโบลา คือเซตของจุดบนระนาบมีระยะห่างจากจุดโฟกัส (focus) เท่ากับระยะห่างจากเส้นไดเรกตริกซ์ (directrix) พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกำเนิด กราฟของพาราโบลาจะมีลักษณะคล้ายระฆัง ตอนม.3 น้องๆเคยเห็นทั้งพาราโบลาหงายและคว่ำแล้ว แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับพาราโบลาตะแคงซ้ายและขวา สามารถเขียนเป็นตารางให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ ข้อสังเกต  จะเห็นว่าถ้าแกนสมมาตรคือแกน y รูปแบบสมการของพาราโบลา y จะมีเลขชี้กำลังเป็น 1  สมการเส้นไดเรกตริกซ์ก็จะเกี่ยวข้องกับ y เช่นเดียวกับแกนสมมาตรเป็นแกน x รูปแบบสมการของพาราโบลา x

M3 Past Passive

Past Passive คืออะไร

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   Past Passive คืออะไร   Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจากโครงสร้างของ Passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ เน้นกรรม) เมื่อนำมารวมกันแล้วPast

การดำเนินการของเซต

การดำเนินการของเซตประกอบไปด้วย ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราจะได้ใช้ในบทต่อๆไป เรื่องนี้จึงค่อนข้างมีประโยชน์ในเรื่องของการเรียนเนื้อหาบทต่อไปง่ายขึ้น

หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1