การใช้ Tenses ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา

Krumaiyha
Krumaiyha
Tense and time

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับ การใช้ Tense ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษกัน

ก่อนอื่นมารู้จักTenses กันก่อน

3Tenses M1
Tenses อ่านว่า เท้นสฺ ถ้าเป็นคำ Adjective หรือคุณศัพท์จะแปลว่าหนักหนาสาหัส แต่ถ้าเป็นคำนาม (Noun) จะแปลว่า กาลเวลาค่ะ หัวใจของการเรียนเรื่อง Tense คือ กริยา(verb) เมื่อกริยาเปลี่ยนไปเวลาและเงื่อนไขการใช้งานของ Tense ก็จะเปลี่ยนแปลงค่ะ วันนี้ครูขอเสนอ 5 Tenses หลักที่ใช้บ่อยในภาษาอังกฤษนะคะ ไปลุยกันเลยเริ่มจาก Tense ที่ใช้ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตค่า

 

Past Simple Tense (อดีตธรรมดา)

 

Past-simple-tense

รูปแบบประโยค:  ประธาน + กริยาช่อง 2

ตัวอย่าง He went back home. เขากลับบ้าน

หลักการใช้  Past Simple Tense

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และจบสิ้นลงไปแล้วในอดีตเช่นกัน มักมีคำว่า once, ago, last night, last week, last year เช่น
    I got sick yesterday. ฉันป่วยเมื่อวานนี้
    I lived in Phuket 3 years ago. ฉันอยู่ที่ภูเก็ตเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
  1. แสดงเหตุการณ์ที่เป็นนิสัย ที่ทำประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่ได้กระทำแล้ว) มักมี adverb ความถี่อยู่ด้วย เช่น always, every เช่น
    Bella walked every morning. เบลล่าเดินทุกๆเช้า (เป็นนิสัยในอดีต ปัจจุบันไม่ได้กระทำแล้ว)
  1. แสดงถึงการกระทำทั้งสองอย่างที่เกิดในเวลาเดียวกัน มักมีคำว่า as, while อยู่ด้วย เช่น
    Last night while she sang, I danced. เมื่อคืนขณะที่เธอร้องเพลง ฉันเต้น

 

 Present Simple Tense (ปัจจุบันธรรมดา)

Present simple tense

 

มีโครงสร้างประโยค: ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ถ้าประธานเป็น เอกพจน์ + กริยาช่องที่ 1 จะต้องเติม s หรือ es เช่นในตาราง

 

ตัวอย่างประโยค Present Simple การเปลี่ยนแปลง
I go…

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(I) เป็นพหูพจน์
You go…

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(You) เป็นพหูพจน์
She go to school.

 

She goes…
They go…

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(They) เป็นพหูพจน์
Tina draw a picture.

 

Tina draws a picture.

 

We drive a car.

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(We) เป็นพหูพจน์

 

จากตารางนี้นักเรียนจะเห็นได้ว่าถ้าประธานเป็นเอกพจน์กริยาที่ตามมาจะต้องเปลี่ยนไป แต่ถ้าประธานพหูพจน์กริยาที่จามมาจะไม่เปลี่ยนแปลง
หลักการเติม ‘s’ ที่คำกริยา

  1. เติม s หลังคำกริยานั้นๆ เช่น Tina walks to school.
  2. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, o, z, ss ให้เติม es เช่น She teaches English.
  3. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น

Bella tries to study English.

หมายเหตุ: ถ้าหน้า y เป็นสระ ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i ให้เติม s ได้เลยค่ะ เช่น

destroy – destroys = ทำลาย

สรุปหลักการใช้ Present simple tense

  1. แสดงลักษณะความจริงอยู่เสมอ ไม่ว่า เหตุการณ์จะผ่านไปเท่าใดก็ตาม ตัวอย่างประโยคเช่น
    The sun rises in the east. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
    The sun sets in the west. ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก
  1. ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นเสมอๆ จนเป็นนิสัย หรือ ประเพณีนิยมมักจะมีคำวิเศษณ์บอกความถี่อยู่ด้วย (adverb of frequency) เช่น rarely, every day, every week, every month, usually, sometimes, seldom ตัวอย่างประโยค เช่น
    Dan wakes up at five o’clock every day.  แปล แดนตื่นนอนตอน ตีห้าทุกวันเลย
    Nok runs to school every morning. แปล นกวิ่งไปโรงเรียนในทุกๆเช้า
  2. แสดงเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น
    They go to Bangkok tonight.  พวกเขาจะไปกรุงเทพในตอนเย็น
  3. ใช้กับสุภาษิต คำพังเพย เช่น
    Health is wealth. ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
    Time waits for no man. เวลาไม่เคยรอใคร

Present Continuous Tense (ปัจจุบันกำลังกระทำ)

 

Present continuous tense-NokAcademy

 

โครงสร้างประโยค:
I + am + กริยาช่องที่ 1 เติม ing
A: ประธานเอกพจน์ + is + กริยาช่องที่ 1 เติม ing
B: ประธานพหูพจน์ + are + กริยาช่องที่ 1 เติม ing

ตัวอย่างประโยค เช่น

She is running. หล่อนกำลังวิ่งอยู่
Look! The elders are crossing the road. ดูนั่นสิ คนแก่กำลังข้ามถนน

หลักการเติม ing

1.คำกริยาที่ลงท้านด้วย e ให้ตัด e ทิ้งเสียก่อนแล้วเติม ing เช่น write > writing, take > taking

2.กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม ing เลย เช่น free > freeing, see > seeing

3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing เช่น die > dying

4. กริยาพยางค์เดียว มีสระตัวเดียวและมีตัวสะกดเป็นพยัญชนะตัวเดียวให้เพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัวก่อนแล้วเติม ing เช่น run > running

5. กริยาหลายพยางค์ลงท้ายด้วยพยัญชนะ 1 ตัว หน้าพยัญชนะ มีสระหนึ่งตัวให้ทำการเพิ่มพยัญชนะเข้าไปอีก 1 ตัว แล้วเติม ing เช่น forget > forgetting

6. กริยามี 2 พยางค์ ซึ่งออกเสียงหนักที่พยางค์หลังมีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วเติม ing ที่ด้านหลัง เช่น
refer > referring

หลักการใช้  Present Continuous Tense

  1. แสดงการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะพูด และคาดว่าจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า มักมีคำเหล่านี้ คือ now, at the present time,at this moment
    เช่น The Dannies are having lunch  now. ครอบครัวแดนนี่กำลังทานอาหารเที่ยงอยู่
  2. แสดงการกระทำเริ่มก่อนพูดเป็นเวลานาน ขณะที่พูดนี้เหตุการณ์อาจไม่ได้กำลังเกิดขึ้นจริงๆ มักมีคำว่า this + period of time เช่น
    I am helping my parents at the garden this summer. ฉันกำลังช่วยพ่อแม่ที่สวนช่วงฤดูร้อนนี้
  3. ใช้แทนอนาคตกำลังจะมาถึงในไม่ช้า หรืออนาคตอันใกล้มักมี adverb of time (tomorrow, next week, next month ) เช่น
    I am attending the conference tomorrow.  ฉันจะเข้าร่วมประชุมพรุ่งนี้

Present Perfect Tense (ปัจจุบันสมบูรณ์)

Present Perfect Tense

รูปแบบประโยค = ประธาน + has, have + V.3 (Past Participle)
A: ประธานเอกพจน์ + has + V.3
B: ประธานพหูพจน์ + have + V.3

ตัวอย่าง
Liza has always been amazing. ลิซ่าสุดยอดเสมอมา

We haven’t eaten anything yet. พวกเรายังไม่ได้ทานอะไรเลย

หลักการใช้ Present Perfect Tense

  1. แสดงถึงการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน(ตอนพูด) และมีแนวโน้มว่าจะเนินต่อไปในอนาคตมักจะมีคำว่า since, for เช่น I haven’t finsihed my exam. ฉันยังทำข้อสอบไม่เสร็จเลย
  2. แสดงการกระทำซึ่งเกิดขึ้นในอดีต และพึ่งเสร็จสมบูรณ์ไปไม่นาน มักมี กริยาวิเศษณ์ (adverb) เช่น just, yet เช่น I have just passed the exam.
    ฉันพึ่งสอบผ่าน
  1. แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ผลของการกระทำนั้นยังคงมาถึงปัจจุบันขณะที่พูด เช่น I haven’t read this book before. ฉันไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้เลย
  1. เหตุการณ์ที่เคยทำซ้ำๆกันหลายหนแล้วในอดีต อาจจะทำต่อไปในอนาคต แต่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดแน่อาจไม่ได้บ่งเวลาได้ มักมี adverb of time เช่น several times ในประโยคด้วย เช่น He has read English book for five times. เขาได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษเล่มนี้มา 5 ครั้งแล้ว

Future Simple Tense (อนาคตธรรมดา)

Future simple tense NokAcademy

รูปแบบประโยค:  ประธาน + will, shall (I, We), be going to + กริยาเติม ing

 

ตัวอย่างประโยค
I will  have a dinner with Jenny tomorrow night. ฉันจะไปทานอาหารเย็นกับเจนนี่คืนพรุ่งนี้
I shall study hader. ฉันจะขยันให้มากขึ้น

ปล. ปัจจุบันนี้คนมักไม่นิยมใช้ shall เท่า will แต่ว่าสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันนะคะ ซึ่งปลว่า “จะ”

หลักการใช้ Future Simple Tense.

  1. ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำในอนาคต มักมี adverb of time อยู่ด้วย เช่น to night, tomorrow เช่น
    I will have my hair cut tomorrow. ฉันจะไปตัดผมพรุ่งนี้นะ
  2. ใช้ be going to + กริยาช่อง 1 ไม่ผัน (V. Infinitive) เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่ได้คิดไว้ ล่วงหน้าแล้วหรือ เชื่อว่าเป็นจริงเช่นนั้นโดยไม่สงสัย เช่น
    They are going to England next month. พวกเขาจะไปประเทศอังกฤษเดือนหน้า
  3. ใช้ be going to + กริยาช่อง 1 ไม่ผัน (V. Infinitive) เพื่อแสดงการคาดคะเน เช่น
    Penny is going to go out tonight. เพนนีจะออกไปข้างนอกคืนนี้ (คาดว่าจะไปแต่อาจจะไม่ไปแล้วแต่เพนนี)

เป็นยังไงกันบ้างคะ ครูหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับพวกเรานะคะ ขอให้มีความสุขกับการทบทวนบทเรียน อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนเรื่อง
Present Simple and Present Continuous กันนะคะ นักเรียนม. 1 ที่รักทุกคน ขอให้หนูเข้าใจแจ่มแจ้ง สอบติด สอบผ่าน ได้คะแนนเต็ม สาธุ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions M.1

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการอย่างง่ายในการใช้ประโยค Yes/No questions กันค่ะไปลุยกันเลยค่า Yes, No Questions คืออะไร คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือผู้ถามอาจจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ในที่นี้ครูจึงแยกออกเป็น 3 ชนิดค่ะ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1